การเปิดรับสื่อ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาเซียน และการเตรียมความพร้อมที่มีผลต่อการปรับตัวด้านวัฒนธรรมอาเซียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตลาดพร้าวและจตุจักร กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วรวุฒิ ภักดีบุรุษ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเปิดรับสื่อ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาเซียน การเตรียมความพร้อม และการปรับตัวด้านวัฒนธรรมอาเซียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลเขตลาดพร้าวและจตุจักร กรุงเทพมหานคร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับสื่อกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาเซียน และการเตรียมความพร้อมของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล เขตลาดพร้าวและจตุจักร กรุงเทพมหานคร และ 3) ผลของการเปิดรับสื่อ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาเซียน และการเตรียมความพร้อม ต่อการปรับตัวด้านวัฒนธรรมอาเซียนของของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลเขตลาดพร้าวและจตุจักร กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลเขตลาดพร้าวและจตุจักรกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95, .83, .90 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปิดรับสื่อ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาเซียนและการปรับตัวของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล เขตลาดพร้าวและจตุจักร กรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก 2) การเปิดรับสื่อของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล เขตลาดพร้าวและจตุจักร กรุงเทพมหานครมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาเซียนและการเตรียมความพร้อมในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 3) การเปิดรับสื่อ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารอาเซียน และการเตรียมความพร้อม สามารถร่วมกันพยากรณ์การปรับตัวด้านวัฒนธรรมอาเซียนของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตลาดพร้าวและจตุจักร กรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 42.60 โดยตัวพยากรณ์ที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการปรับตัวด้านวัฒนธรรมอาเซียน คือ การเตรียมความพร้อมของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตลาดพร้าวและจตุจักร กรุงเทพมหานคร


The purposes of this research were to explore 1) media exposure, perception of ASEAN information, preparedness and ASEAN cultural adaptation among teachers in public secondary schools of Ladprao and Jatujak disctrict, Bangkok, 2) the correlation between  media exposure  and  perception of ASEAN information, and preparedness among teachers in public secondary schools of Ladprao and Jatujak Disctrict, Bangkok, and 3) the effect of media exposure, perception of ASEAN information and preparedness on ASEAN cultural adaptation among teachers in public secondary schools of Ladprao and Jatujak disctrict, Bangkok. Samples were the total of 400 teachers in public secondary schools of Ladprao and Jatujak Disctrict, Bangkok who were selected by using the stratified random sampling technique. Data were collected by using a questionnaire with the reliability of .95, .83, .90 and .88 respectively. Statistical data analysis was conducted using descriptive statistic, Pearson product-moment correlation coefficients and multiple regression analysis. The research findings revealed that 1) media exposure, perception of ASEAN information, preparedness and ASEAN cultural adaptation among teachers in public secondary schools of Ladprao and Jatujak disctrict, Bangkok were at the high level, 2) media exposure of teachers in the public secondary schools of Ladprao and Jatujak Disctrict, Bangkok was positively correlated to their perception of ASEAN information and preparedness at the moderate level with statistical significance at 0.05, and 3) media exposure, perception of ASEAN information, and preparedness could predict the ASEAN cultural adaptation among teachers in the public secondary schools of Ladprao and Jatujak disctrict, Bangkok with 42.60 percentage. The important predictor was preparedness among teachers in the public secondary schools of Ladprao and Jatujak Disctrict, Bangkok.

Article Details

Section
Research Articles