Guideline Development of Potential Tourism Management at Erawan National Park in Kanchanaburi Province via Participation between Government Private Sector and Community

Main Article Content

Jirat Chuanchom
Nongluck Popichit

Abstract

The objectives of this research are to study potential of tourist spots, tourists’ behaviors and management of natural reserve parks in order to identify approaches to develop potentials of tourism management of Erawan National Park in Kanchanaburi province, Thailand. The study adopts mixed research methods. The quantitative data were collected from questionnaires distributed to the sample of 400 tourists, aged between 20 - 60 years old. The sample was selected using the non-probability quota sampling method with equal number of 200 tourists who visited the National Park on weekdays, and another 200 touristson weekends. Meanwhile, the qualitative data were collected by conducting in-depth interviews with 16 selected stakeholders of the Erawan National Park and analyzed using descriptive methods. Results of the research reveal that the Erawan National Park has potential regarding tourism, environmental and management, to accommodate the tourists. Challenges of and obstacles to the management are related to crowdedness caused by too many tourists in the waterfall area, since the forest tracking and bird watching activities are not popular among the tourists.

 

แนวทางพัฒนาศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี โดยการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชน

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวการบริหารจัดการอุทยานและหาแนวทางพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี การดำเนินงานวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ผู้ให้ข้อมูลการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยอายุ 20 ปี ถึงอายุ 60 ปี ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบไม่อาศัยความน่าจะเป็นแบบโควต้า โดยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในวันธรรมดาจำนวน 200 คน และวันหยุด 200 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 400 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับอุทยานแห่งชาติเอราวัณจำนวน 16 ราย โดยคัดเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า อุทยานแห่งชาติเอราวัณมีศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวในด้านแหล่งท่องเที่ยวด้านสภาพแวดล้อมต่างๆ และการจัดกิจกรรมปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการ คือ นักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวบริเวณน้ำตกเป็นจำนวนมากทำให้เกิดความแออัด ทั้งนี้ เนื่องจากกิจกรรมการเดินตามเส้นทางศึกษาธรรมชาติและการส่องนกไม่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยว

Article Details

Section
Research Articles