Innovation Management of Business Organization Affecting Employees’Innovative Work Behavior

Main Article Content

ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์
นพพร ศรีวรวิไล
อดิศร ณ อุบล

Abstract

The objectives of this research were 1) to develop and examine validity of the multilevel structure equation modeling of employees’ innovative work behavior, and 2) to study the effects on employees’ innovative work behavior. The target population was large size manufacturing firms located within the Industrial Estate Authority of Thailand. The samples were stratified randomly, and consisted of 116 top manager members and 890 employee (52.7% Response Rate). The questionnaire was used as a research instrument which measured on five point likert scales. Multilevel Structural Equation Model (MSEM) by Mplus was used to analyze the data. The results of this study shows that: (1) The perceptions of employee towards the innovative work behavior were moderate for nearly all variables, except for creativity’s indicator which was rather high. (2) the proposed multilevel structure equation model of employee’s innovative work behavior is valid and well fitted to the empirical data, and (3) the individual level variables, such as the organizational citizenship behavior had positive direct effects on the employees’ innovative work behavior, then the Job satisfaction had positive direct effects on the organizational citizenship behavior and had indirect effects on the employees’ innovative work behavior. Whereas for organization level variables, only the innovation climate had positive direct effects on the employees’ innovative work behavior, then the transformation leadership had positive direct effects on the innovation climate and had indirect effects on the employees’ innovative work behavior, The predictor variables at the individual and organization level accounted for the variance of the employees’ innovative work behavior of about 69%.

 

ปัจจัยด้านการจัดการนวัตกรรมขององค์กรธุรกิจที่มีผลต่อ พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุ ระดับพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงาน และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์ นวัตกรรมของพนักงาน ประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ สถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ในพื้นที่การนิคม อุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 116 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยผู้บริหารระดับสูง 116 คนและพนักงานปฏิบัติการ 890 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ อัตราการตอบ กลับ (Response Rate) คิดเป็นร้อยละ 52.7 การวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างพหุระดับด้วยโปรแกรม Mplus 6.0 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า (1) ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานอยู่ในระดับปานกลางเกือบทุกตัว บ่งชี้ ยกเว้น ตัวบ่งชี้ด้านความคิดสร้างสรรค์ของพนักงานอยู่ในระดับสูง (2) โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับพฤติกรรม การสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์(3) การวิจัยพบว่าตัวแปรระดับพนักงานที่ ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การเป็นทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณค่า ส่วนตัวแปรความพึงพอใจในการปฏิบัติงานส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของ พนักงานโดยส่งผ่านตัวแปรการเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่า สำหรับตัวแปรระดับองค์กรที่ส่งผลทางตรงต่อพฤติกรรมการ สร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ บรรยากาศการสร้างนวัตกรรมและยังพบว่าตัวแปรภาวะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานโดยส่งผ่านตัวแปรบรรยากาศ การสร้างนวัตกรรม ทั้งนี้ชุดของตัวแปรระดับพนักงานและระดับองค์กรสามารถอธิบายความแปรปรวนในพฤติกรรมการ สร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานได้ร้อยละ 69 ทั้งสองระดับ

Article Details

Section
Research Articles