อิทธิพลของความผูกพันต่อองค์กรและคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีต่อ การธำรงรักษาพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พิมพ์กมล จักรานุุกุล
ดวงธิดา นันทาภิรัตน์
ศิริณญา เพชรจันทร
ณฐอร วรมงคลชัย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล ความผูกพันต่อองค์กร และคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อการธำรงรักษาพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตกรุงเทพมหานครที่เป็นตัวอย่าง จำนวน 436 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 21-30 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์ในการทำงาน 1-3 ปี ส่วนใหญ่มีตำแหน่งงานระดับทั่วไป และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001-20,000 บาท สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเป็นอิสระกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานที่มีตำแหน่งงานและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการธำรงรักษาพนักงานแตกต่างกัน โดยมีคะแนนการธำรงรักษาพนักงานระดับผู้บริหารสูงสุด รองลงมาคือระดับหัวหน้างาน และระดับพนักงานทั่วไป ตามลำดับ และพนักงานที่มีรายได้มากกว่า 30,000 บาท จะมีคะแนนการธำรงรักษาพนักงานสูงกว่าพนักงานที่มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท และ 2) คุณภาพชีวิตการทำงานมีอิทธิพลทางบวกต่อการธำรงรักษาพนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว มากที่สุด รองลงมาคือคุณภาพชีวิตในการทำงาน


This research is a quantitative study that aimed to explore the effects of personal factors, organizational commitment, and quality of work life on employee retention at 5-star hotels in Bangkok. Convenience sampling was conducted and the questionnaire was used to collect data from 436 five-star hotel staff in the Bangkok Metropolitan Area. The data showed that the majority of respondents were females aged between 21 and 30, holding a bachelor’s degree. Most had 1-3 year of work experience in an entry-level job with a salary of 15,000-20,000 baht.


The methods used to analyze the data were independent sample t-test, One Way Analysis of Variance and Multiple Linear Regression at the 0.05 significance level. The findings were as follows: 1) the employees who are in different positions and incomes have a significant difference in opinion on employee retention. The employees who are in higher positions have the highest retention score, followed by those at the supervisory level and the general staff. 2) Organizational commitment was mostly significant and positively linked to employee retention, followed by the quality of work life.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

พิมพ์กมล จักรานุุกุล, Bangkok University

นักศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว

ดวงธิดา นันทาภิรัตน์, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้อำนวยการหลักสูตรหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว