แนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่และรูปแบบการพัฒนาครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาของท้องถิ่นที่สอดคล้องกับความคาดหวังของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Main Article Content

พงษ์ธร สิงห์พันธ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคาดหวังความต้องการพัฒนาครูของผู้บริหารสถานศึกษา และครูในเขตพื้นที่การศึกษา อุบลราชธานีที่มีต่อบทบาทการพัฒนาครูของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาของท้องถิ่นและเพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทหน้าที่และรูปแบบ การพัฒนาครูของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีที่สอดคล้องกับความคาดหวังของสถานศึกษา ขั้นพื้นฐานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ครูและผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1-5 จำแนกเป็น ครู 280 คน และผู้บริหาร 100 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 380 คน โดยใช้เกณฑ์กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของ Krejcie and Morgan (อ้างถึงใน ธีรวุฒิ เอกะกุล 2550 : 143)

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ชุดที่ 1 คือ แบบสอบถาม เกี่ยวกับสภาพป๎จจุบัน สภาพที่เป็นจริงและสภาพที่คาดหวังการพัฒนาครูของคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ซึ่งเป็น แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 ชุดที่ 2 เป็นแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion : F.G.D.) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. บทบาทในการพัฒนาครูของครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ในภาพรวม พบว่า สภาพที่เป็นจริงได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และสภาพความคาดหวังได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีผลต่างของคะแนนความคาดหวังและสภาพที่เป็นจริง เท่ากับ 1.36 เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า บทบาท ที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดตามสภาพที่เป็นจริง คือบทบาท การเป็นแหล่งเรียนรู้ การฝึกอบรมพัฒนาครู และ ให้บริการทางวิชาการได้คะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและสภาพความคาดหวัง ที่ได้คะแนนเฉลี่ยสูงสุดคือ บทบาทการเป็นแหล่งเรียนรู้ ฝึกอบรมพัฒนาครูและให้บริการทางวิชาการเช่นกัน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับ มากที่สุด สภาพที่เป็นจริงของบทบาทในการพัฒนาครูที่ได้คะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ ครุศาสตร์ร่วมเป็นเครือข่าย กับเขตพื้นที่และสถานศึกษาจัดอบรมพัฒนาครูผู้สอนกลุ่มสาระต่างๆ มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง และ สภาพที่คาดหวังที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การจัดทำหลักสูตรและรูปแบบการฝึกอบรมการพัฒนาครูที่ หลากหลายและสอดคล้องความต้องการการพัฒนาครู และบทบาทการพัฒนาตามสมรรถนะหลักของครู มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด

2. แนวทางการพัฒนาบทบาทและรูปแบบการพัฒนาครูของคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานีที่สอดคล้องกับความคาดหวังของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี ได้แก่ การเป็นแหล่งเรียนรู้และให้บริการทางวิชาการ คณะครุศาสตร์ควรเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นศูนย์ ฝึกอบรมในรูปแบบที่เป็นสากล จัดอบรมและพัฒนาครูในทุกสาขาวิชา บทบาทการพัฒนาครู คณะครุศาสตร์ ควรเป็นเครือข่ายการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนร่วมกับครูในสถานศึกษา ควรให้บริการวิชาการ เชิงรุกสร้างเครือข่ายแต่ละอำเภอมีระบบการพัฒนาที่จูงใจให้ครูเข้ารับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและแนวทาง รูปแบบ หลักสูตร การพัฒนาครูควรมีแผนการพัฒนาครู ผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง มียุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษา ควรเป็นคลังสมองที่เป็นแหล่งรวบรวมภูมิป๎ญญาท้องถิ่น ปราชญ์ ชาวบ้าน ควรเพิ่มบทบาทที่เน้นการบริการทางวิชาการเป็นงานหลักคณะครุศาสตร์ ควรจัดหลักสูตรและพัฒนา หลักสูตรอบรมครูอย่างต่อเนื่องทั้งระบบ ควรพัฒนาเป็นรูปแบบตลาดนัดทางวิชาการ เป็นหลักสูตรระยะสั้น อบรมเชิงปฏิบัติการ ควรมีหลักสูตรหลากหลายเพื่อให้ครูเลือกเข้าอบรมตามความสนใจ และควรพัฒนาครู ในระบบออนไลน์

 

Guidelines for Roles and Model of Teacher Development by Faculty of Educational in Ubon Ratchathani Rajabhat University in a Position of Local College-conforms to Expectation of the Schools in Educational Service Area.

The objective of this research is to study the expectation of teacher development administrators from the School and teachers in Ubon Ratchathani educational service area. University, as a local That impacted to the teacher development, which ware roles of the faculty of education, Ubon Ratchathani Rajabhat University. In addition, to propose guidelines for developing of the roles and responsibilities as well as forms of the teacher development, in faculty of education, Ubon Ratchathani Rajabhat University. To conform the expectation of the basic educational school under Ubon Ratchathani educational service area.

The sample group in this research consisted of teachers and school administrator in at the basic educational school under Ubon Ratchathani educational service area 1-5. Totally 380 experimental units has divided to 280 teachers and 100 departmental chairmen. This research applied sample size determination according to Krejcie & Morgan table

Data collection tool, Part I: questionnaire. Concerning with current situation, actual situation and expected situation of teacher development in the faculty of education, Ubon Ratchathani Rajabhat University. This set of 5-point rating scale questions with the reliability of 0.97. Part II: Focus Group Discussion (F.G.D.). Applying statistics in data analysis as follow: percentage, average, and standard deviation (S.D.).

The research results found that:

1. Roles in teacher development of the faculty of education in Ubon Ratchathani Rajabhat University, the summary found that the actual situation average score was at a medium level and the expected situation average score was at a high level. Whereas the score difference between expected and actual equal to 1.36. Subsequently, individually consideration found that the highest average score of the actual situation roles were knowledge source, training, and providing academic services. In additional, the average score was a high level Besides, the roles that highest average scored in expected situation were knowledge resource, training, and providing academic services along with the high average score. While the lowest average score of the actual situation roles were the faculty of education participate with the educational area network and school organized development training for teacher by various subject. As a result of the average score was at the medium level Further, the roles that has lowest average score in expected situation were curriculums and forms of development for training, which conform to teacher development requirements, and core competency development with the highest average score.

2. Guidelines for role, responsibility, and development model of the faculty of education in Ubon Ratchathani Rajabhat University, which conform to the expectation of the basic educational school under Ubon Ratchathani educational service area, wear as follow: being source of knowledge and academic service provider, the faculty shall cultivate to be the knowledge management center, an international training center, with all subject fields training for teacher to development. On teacher development role, the faculty shall be a research network aimed to improve learning and teaching accompany with teachers in school. Providing active learning among district network for development system to motivate the teachers to participate the development consecutively. The teacher development strategies, and curriculums shall plan successful development for teachers and departmental chairmen. Offensive strategy for quality improvement in education accompany with the educational service area. Brain bank collected folk wisdom from village philosophers. Furthermore, a novel role focused on academic administration. The faculty shall continuously develop and improve the teacher training curriculum for the whole system. Evolution in form of academic showcase and market. For short term workshop program, the diversity of programs for teacher to participate by their interest. As well as online teacher development.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)