การบริหารงานวิชาการที่สัมพันธ์กับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4

Main Article Content

สาวิตรี ศรีวะบุตร
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
พรศักดิ์ จินา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ศึกษาผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารวิชาการกับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครศรีธรรมราช เขต 4 จำนวนทั้งสิ้น 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's product-moment Coefficient)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การบริหารงานวิชาการที่สัมพันธ์กับผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติชั้นพื้นฐาน (O-NET) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( \bar{X} = 3.66) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับการบริหารงานวิชาการเรียงตามลำดับ ค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษา ( \bar{X} = 3.83) ด้านการพัฒนาระบบประกัน คุณภาพภายในและมาตรฐานการศึกษา ( \bar{X} = 3.73) ด้านการนิเทศการศึกษา ( \bar{X} = 3.62) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนา คุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา ( \bar{X} = 3.61) ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา ( \bar{X} = 3.60) และ ด้านการวัดผลประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียนรู้ ( \bar{X} = 3.59)

2. ผลคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ขั้นพื้นฐาน (O-NET) ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2556 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( \bar{X} = 46.71) เมื่อจำแนกตามรายวิชา พบว่า O-NET วิชาภาษาไทย O-NET วิชาวิทยาศาสตร์ O-NET วิชาศิลปะ และ O-NET วิชาการงานอาชีพและ เทคโนโลยี มีผลคะแนนอยู่ในระดับค่อนข้างดี ส่วน O-NET วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม O-NET วิชาภาษาอังกฤษ และ O-NET วิชาคณิตศาสตร์ มีผลคะแนนอยู่ในระดับปานกลาง และ O-NET วิชาสุขศึกษา มีผลคะแนนอยู่ในระดับพอใช้

3. ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในของการบริหารงานวิชาการกับผลการทดสอบทางการศึกษา ระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มีค่า อยู่ระหว่าง -.291 ถึง .170 โดยการบริหารงานวิชาการด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษากับผลการทดสอบ ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

The Relationship between Academic Administration with The Results of Ordinary National Educational Test (O – NET) of Grade 6 students in basic education under Nakhon Si Thammarat Educational Service Area Office 4

The objectives of this research aimed to study; 1) the academic administration in basic education schools. 2) the results of ordinary national educational test (O–NET) of grade 6 students, and 3) the relationship between academic administration with the results of ordinary national educational test (O – NET) of grade 6 students in basic education schools under Nakhon Si Thammarat Educational Service Area Office 4. The 103 samples are school directors. The instruments for data collecting are questionnaires. The statistics were analyzed by frequency, percentage, arithmetic mean, standard deviation and Pearson's product-moment coefficient.

The findings were as follows:

1. The overall of the relationship between academic administrations with the results of ordinary national educational test (O–NET) of grade 6 students in basic education schools under Nakhon Si Thammarat Educational Service Area Office 4 are in high level ( \bar{X} = 3.66). When considered and sequenced in academic administrations from high level are curriculum development, internal quality assurance and educational standard, educational supervision, research, instruction and evaluation.

2. The overall results of ordinary national educational test (O-NET) of grade 6 students in academic year 2013 are in middle level ( \bar{X} = 3.66). When classified by each subject found that Thai, science, art and career and technology are in good level. While social studies, religion and culture, English and mathematic are in middle level. Only health education is in fair level.

3. The correlation coefficient between academic administrations with the results of ordinary national educational test shown in-between -.291–.170 with statically significant at .05

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)