รูปแบบการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต

Main Article Content

สุคนธ์ มณีรัตน์
นพดล เจนอักษร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต 2) รูปแบบการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต และ 3) ผลการยืนยันรูปแบบการเจรจาต่อรองของผู้บริหาร โรงเรียนสาธิตตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ วิธีการดำเนินการวิจัย มี 3 ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษา ค้นคว้าตัวแปรเกี่ยวกับการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาเครื่องมือและจัดเก็บ ข้อมูล และขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลและการยืนยันความเหมาะสมขององค์ประกอบและรูปแบบที่ได้ กลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแต่ละขั้นตอนประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง 2) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ของโรงเรียนสาธิต จำนวน 230 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น เกี่ยวกับการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต จำนวน 120 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .960 3) กลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ใช้แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบของการเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง 2) การวางแผนการเจรจาต่อรอง 3) การติดต่อสื่อสาร 4) บุคลิกภาพของ ผู้เจรจาต่อรอง 5) ความสัมพันธ์ในการเจรจาต่อรอง และ 6) ประสิทธิผลของการเจรจาต่อรอง

2. รูปแบบเจรจาต่อรองของผู้บริหารโรงเรียนสาธิตเป็นความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพหุองค์ประกอบ ที่มีความสัมพันธ์กัน โดยที่ กลยุทธ์การเจรจาต่อรอง และการวางแผนการเจรจาต่อรองมีอิทธิพลทางตรงต่อ ประสิทธิผลของการเจรจาต่อรอง นอกจากนี้ ความสัมพันธ์ในการเจรจาต่อรอง การติดต่อสื่อสาร และบุคลิกภาพ ของผู้เจรจาต่อรอง มีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลการเจรจาต่อรอง

3. ผลการยืนยันรูปแบบ ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นสอดคล้องกันว่า รูปแบบการเจรจาต่อรอง ของผู้บริหารโรงเรียนสาธิต มีความเหมาะสม มีความเป็นไปได้ เป็นประโยชน์และถูกต้องครอบคลุม สอดคล้อง กับกรอบแนวคิดทฤษฎีการวิจัย

 

A Professional Negotiation Model of Demonstration School Administrators

The purposes of this research were to determine: the professional negotiation factors of demonstration school administrators, the negotiation model of the demonstration school administrators, and the confirmation of the negotiation model of the demonstration school administrators by experts. The research was conducted in three steps. The first step was analyzing the factors related to the negotiation of the demonstration school administrators. The second step was to develop the research instruments and then used them to collect data. The final step was analyzing the data and confirming the suitability of the negotiation factors and the model. The samples and instruments for this study were the data from nine experts collected by semi-structured interview and the data from the school director, vice director, and head of departments to the tally of 230 respondents were collected by opinionnaire. And other seven experts were asked for their opinions. The statistics used in this research included frequency, percentage, arithmetic means, standard deviation, exploratory factor analysis, path analysis and content analysis.

The research finding were as follow:

1. The negotiation components of the demonstration school administrators consisted of negotiation strategies, negotiation planning, communication, characteristics of the negotiator, relationship in negotiation and the effectiveness of the negotiation.

2. The model of the negotiation of the demonstration school administrators was a causal relation of multiple factors consisted of the six components mentioned earlier. The factors of negotiation strategies and negotiation planning were directly affected to the effectiveness of the negotiation. Beside, the factors of communication, character of the negotiator, and relationship in negotiation had also the indirect effect on the effectiveness of the negotiation.

3. The result of the confirmation of the model of the professional negotiation components of the demonstration school administrators was propriety, feasibility, utility, and accuracy standards, which corresponded to the theoretical framework of this research.

Article Details

Section
บทความวิจัย (Research Article)