อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร)

Authors

  • สืบพงศ์ ธรรมชาติ

Keywords:

อารยธรรม, ตามพรลิงค์, ลังกาสุกะ, ศรีวิชัย, ศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสอง นักษัตร), Civlization, Tambralinga, Langasuga, Sivichai, Si thammarat Mahanakhon

Abstract

เขตพื้นที่คาบสมุทรสยามหรือคาบสมุทรสยามมลายูแต่เดิมเคยเป็นเขตอำนาจการปกครองของเมืองใหญ่หรืออาณาจักรเก่าแก่ที่นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์ศึกษาได้ศึกษาเอาไว้มี 4 เมืองใหญ่หรืออาณาจักร คือ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชนคร (หรือศรีธรรมราชมหานครหรือเมือง 12 นักษัตร) กรณีอาณาจักรหลังสุดที่มีชื่อว่าเมือง 12 นักษัตร เพราะมีเมืองที่อยู่รวมกันปกครองจำนวน 12 เมือง ได้แก่ กลันตัน ปาหังไทรบุรี สายบุรี ปัตตานี พัทลุง ตรัง บันทายสมอ (บันทายสมา) สระอุเลา ตะกั่วถลาง ชุมพรและกระบุรี มีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครศรีธรรมราชปัจจุบัน เมืองทั้ง 12 เมืองนี้มีศูนย์รวมใจทำให้เกิดพลังเข้มแข็งเพราะมีพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชเป็นหลักยึดเหนี่ยวทางใจ แต่ละเมืองจะหมุนเวียนกันดูแลองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชและเขตพื้นที่รายรอบเมืองละปี มีการส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองไปบูชาพระบรมธาตุฯ อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาดสิ่งนี้เป็นพลังสำคัญแห่งพระพุทธศาสนาทำให้ดินแดนไทยสยามภาคใต้โบราณมีความยึดโยงเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น และเป็นรากฐานสำคัญในความเจริญรุ่งเรืองทางด้านศาสนา การศึกษา การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และศิลปะและวัฒนธรรม

ดินแดนไทยภาคใต้หรือสยามไทยภาคใต้ ตามพรลิงค์ เป็นชื่อแรกที่ปรากฏในหลักฐานทางโบราณคดีไม่ว่า โบราณวัตถุ โบราณสถาน ศิลาจารึก และเอกสารเก่าทั้งไทยและต่างประเทศ เมืองใหญ่หรืออาณาจักรนี้มีมาก่อน พ.ศ. 500 ด้วยปรากฏชื่อ ตัมลิงคัม(ตมฺมลิงคํ) ในคัมภีร์มหานิเทส อีกทั้งยังปรากฏชื่อในศิลาจารึกตันชอว์ของอินเดียใต้ ของชวาศรีลังกาด้วย อีกทั้งศิลาจารึกของไทยจารึกวัดมเหยงคณ์ จารึกวัดหัวเวียง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบชื่อในเอกสารเก่าของของจีนเรียกชื่อว่า ตั้งหม่าหลิง หรือตันเหม่ยหลิว อีกด้วย ในระยะเวลาไล่เลี่ยกันห่างกันประมาณ 300 ปีเศษ มีหลักฐานปรากฏเมืองลังกาสุกะในเขตแดนที่เป็นอำเภอยะรังและไทรบุรี (เคดะห์ในประเทศปัจจุบัน) เจ้าเมืองนับถือพระพุทธศาสนาต่อมาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม หลักฐานปรากฏคือโบราณสถานยะรังและโบราณสถานบูจังหรือบูจังวัลเลย์ (ในเคดะห์ประเทศมาเลเซียปัจจุบัน) ทั้งสองเมืองหรือสองอาาจักรต้องยุติอำนาจการปกครองลงด้วยการเข้ามามีอำนาจการปกครองของศรีวิชัยราว พ.ศ. 1300 เศษ ศีวิชัยมีอำนาจการปกครองครอบคลุมทั้งคาบสมุทรสยามลายูหรือคาบสมุทรสยามคือประมาณเขตพื้นที่เพชรบุรีลงไปตลอดคาบสมุทรสยามถึงแหลมมลายูเกาะชวา ตลอดถึงเกาะในประเทศฟิลิปปินส์บางส่วน และมีอิทธิพลในการปกครองในดินแดนกัมพูชาในปัจจุบันด้วย เพราะพระเจ้าสูริยวรมันที่ 1 ในพงศาวดารกัมพูชาบอกว่าเป็นโอรสแห่งศรีธรรมราช พระมารดาเชื้อสายศรีวิชัย ความยิ่งใหญ่ของศรีวิชัยจึงปกแผ่ไปทั่วดินแดนหลายประเทศในปัจจุบัน

ด้วยความเจริญรุ่งเรืองด้านศาสนา การศึกษา การเมืองการปกครอง การค้าหรือเศรษฐกิจ และศิลปะและวัฒนธรรม ศรีวิชัยจึงเป็นอาณาจักรที่มีความพร้อมทุกอย่างและมีความร่ำรวย ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ทำให้เป็นพื้นที่บั่นทอนทางการค้าและเศรษฐกิจของอินเดีย ราว พ.ศ. 1500 เศษ กองทัพกษัตริย์ราเชนทร์โจฬะอินเดียใต้ก็ยกทัพเรือมาโจมตีเผาเมืองและขนสิ่งมีค่าไปมากมาย อาณาจักรศรีวิชัยก็ยุติอำนาจลง ต่อมีกลุ่มอำนาจใหม่เข้ามาปกครองตามหลักฐานปรากฏพระนามเจ้าเมืองว่าศรีธรรมาโศกราชเป็นเจ้าเมืองมีหลายพระองค์ ศิลาจารึกบางหลักมีว่าศรีธรรมาโศกราชเจ้าผู้ครองตามพรลิงค์จึงทำให้อนุมานได้ว่าเชื้อสายตามพรลิงค์เก่าได้ขึ้นมามีอำนาจในการปกครองอีกครั้งหนึ่งแต่หลักฐานเอกสารเก่าพบชื่อศรีธรรมราช ศรีธรรมราชมหานคร นครศรีธรรมราชกรุงศรีธรรมโศก และต่อมาในเอกสารเก่าบ้างเรียกว่าศรีธรรมราช (ศิลาจารึกหลักที่ 1) และศิริธรรมนคร (พงศาวดารโยนก) ศรีธรรมราชมหานคร หรือตามพรลิงค์รอบสองมีความเจริญรุ่งเรืองด้านต่างๆ เป็นอย่างยิ่งไม่ว่า ศาสนา การศึกษา ศิลปะและวัฒนธรรม และการเมืองการปกครอง จนราว พ.ศ. 1900 ก็รวมเข้าเป็นดินแดนเดียวกั กับพระยาอู่ทองซึ่งปกครองอยู่บริเวณเหนือเพชรบุรีขึ้นไปด้วยความเจริญรุ่งเรืองที่ติดต่อกันมาตั้งแต่ก่อน พ.ศ. 500 ถึง พ.ศ. 1900 ร่วม 1400 ปีของ 4 เมืองหรือ 4 อาณาจักรในดินแดนไทยภาคใต้หรือไทยสยาม ดังกล่าว จึงทำให้ดินแดนนี้มีความเจริญรุ่งเรืองทางด้านต่างๆ อันเป็นพื้นฐานสำคัญในความเข้มแข็งของไทยสยามภาคใต้และกลายเป็นอารยธรรมแดนใต้ถ่ายทอดถ่ายเทสู่รุ่นลูกหลาน เหลนสืบต่อมาจนปัจจุบัน

The Civilization of Tambralinga Langasuga Sivichai and Si Thammarat Mahanakhon (Muang Sibsongnagasat)

The Siam Peninsula or the Siam-Malay Peninsula was originally an administrative area of four major ancient cities or kingdoms, namely Tambalinga, Lanka Suka, Srivijaya, and Si Thammarat Nakhon or Si Thammarat Maha Nakhon. Si Thammarat Nakhon was also called the 12-Zodic City as it was composed of 12 cities, namely Kelantan, Pahang, Sai Buri, Kedah,

Pattani, Phatthalung, Trang, Banteay Samo (Banteay Sema), Sa Ulao, Takua Thalang, Chumphon, and Kra Buri. The administrative center of these 12 cities is currently in Nakhon Si Thammarat province. Their spiritual center was Phra Borom That Nakhon Si Thammarat; they rotated it to look after Phra Borom That Nakhon Si Thammarat and its vicinity each year. Gold and silver flowers were sent to constantly worship it. The power of Buddhism led to a firm connection among areas in ancient Southern Siam, and this served as a foundation for religious, educational, political, economic, artistic and cultural prosperity.

In Southern Siam, Tambalinga was the first name that appeared in archaeological evidence, including historical objects, historical sites, stone inscriptions, and Thai and foreign historical documents. This great kingdom existed before 500 BE (43 BC). Its name appeared in Tamlingkam in the Maha Nithet Scripture. It also appeared in the Tan Shaw Stone Inscriptions in South India. In addition, it was found in historical Chinese documents called the Tang-ma-ling or Tan-mei liu. There is evidence showing that over 300 years later, Lanka Suka was present in the territories which currently are Sai Buri and Kedah. Buddhist rulers converted to Muslim, the evidence of which is the Yarang Historical Site and Bu Jang Historical Site or Bujang Valley (in Kedah, Malaysia).

Both kingdoms’ administrative power came to the end after the arrival of the power of the Srivichai Kingdom just after 1300 BE (757 AD). Srivijaya s power covered the Siam

Peninsula, which is now in Phetchaburi province downwards through the Siam Peninsula, Malay Peninsula, Java Island, partly islands in the Philippines, and Cambodia. According to a Cambodian chronicle, King Suryavarman I was the son of Si Thammarat, and his mother came from the Srivijayalineage. The glory of Srivijaya spread across territories, which are now in different countries.

With religious, educational, political, economic, artistic and cultural prosperity, the Srivijaya Kingdom had everything it needed and wealth. Accordingly, it diminished India’s trade and economic power. In 150 BE (393 BC), the troops of the Cholas Dynasty from South India burned down and sacked the Srivijaya Kingdom, which led to its fall. The following ruler was Sithammasokarat. As stated in some stone inscriptions, Sithammasokarat was the ruler of Tambalinga. Therefore, it could be inferred that the old Tambalinga lineage came into power again. However, according to historical documents, the kingdom was called Si Thammarat Nakhon, Si Thammarat Maha Nakhon, Nakhon Si Thammarat, Krung Si Thammasok, Si Thammarat (King Ramkhamhaeng’s Stone Inscription), Siri Thammanakhon (Yonok Chronicle) , Si Thammarat Maharat or even Tambalinga for the second time. Its prosperity lasted until 1900 BE (1357 AD) when it was merged with the territory of Phraya Uthong, who ruled above current day Phetchaburi province.

The prosperity before 500 BE (43 BC) to 1900 BE (1357 AD), which lasted 1,400 years between the four kingdoms in Southern Siam, has brought about different aspects of prosperity. This has served as the foundation of strength for Southern Siam/Thailand and the civilization that has been inherited from generation to generation.

Downloads

How to Cite

ธรรมชาติ ส. (2014). อารยธรรมแดนใต้ ตามพรลิงค์ ลังกาสุกะ ศรีวิชัย และศรีธรรมราชมหานคร (เมืองสิบสองนักษัตร). Asian Journal of Arts and Culture, 14(1), 145–161. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95337