การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบทอดการแสดงพื้นเมืองสุพรรณบุรี

Authors

  • อัญชลี จันทาโภ คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • วิศนี ศิลตระกูล คณะวัฒนธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

การแสดงพื้นเมือง, การอนุรักษ์, ส่งเสริมและสืบทอด, Local Performance, Conservation Promotion and Inherit

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการและการอนุรักษ์ ส่งเสริมและสืบทอดการแสดงพื้นเมืองจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างมีส่วนร่วม ดำเนินการวิจัยโดยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่มและประชุมกับผู้รู้ ผู้ปฏิบัติและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงพื้นเมืองสุพรรณบุรี ผลการวิจัยพบว่า การแสดงพื้นเมืองสุพรรณบุรี เป็นการละเล่นในวิถีชีวิตคนสุพรรณบุรี มีมากว่า 100 ปี ปัจจุบันกำลังจะขาดหายไป เนื่องจากขาดการส่งเสริม การสนับสนุนให้มีการแสดงพื้นเมืองจากหน่วยงานท้องถิ่น มีผู้สนใจสืบทอดน้อยลง ผู้รู้ที่เกี่ยวข้องต้องการให้มีการอนุรักษ์ ส่งเสริม สืบทอดการแสดงพื้นเมือง โดยความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ และได้ร่วมกันกำหนดรูปแบบการอนุรักษ์ ส่งเสริมและสืบทอดการแสดงพื้นเมือง โดยการปฏิบัติจากหลายฝ่ายคือ จัดให้มีการแสดงพื้นเมืองเพลงอีแซว ในงานเทศกาลประจำปีวัดป่าเลไลย์ในช่วงงานวันสงกรานต์และวันลอยกระทง รูปแบบการแสดงมีการบอกเล่าความเป็นมาของเพลงพื้นเมืองสุพรรณบุรีสาธิตเพลงอีแซวจากพ่อเพลง แม่เพลงที่มีชื่อเสียงในสุพรรณบุรี และการแสดงเพลงอีแซว จากนักเรียนในโรงเรียนต่างๆ ของสุพรรณบุรี โดยก่อนการแสดงจัดให้นักเรียนได้รับการฝึกอบรมถ่ายทอดการแสดงพื้นเมืองเพลงอีแซวจากศิลปินพื้นเมืองที่มีชื่อเสียง ผลการจัดกิจกรรมการแสดงพื้นเมืองเพลงอีแซวโดยความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เป็นดังนี้ 1) การอนุรักษ์ดำเนินการโดยศิลปินแห่งชาติ “แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์” ศิลปินพื้นบ้านดีเด่น “ครูสุจินต์ศรีประจันต์” และครูเพลง “แม่สำเนียง ชาวปลายนา” ร่วมกันอนุรักษ์โดยถ่ยทอดการแสดงพื้นเมืองแบบดั้งเดิมให้กับนักเรียนในโรงเรียนที่สนใจ 2) ส่งเสริมการแสดงพื้นเมืองโดยองค์การบริหารส่วนตำบล สนับสนุนให้มีการอบรมถ่ายทอดเพลงพื้นเมืองแก่เยาวชนและ 3) การสืบทอด โดยเยาวชนเรียนรู้จากครูเพลงพื้นเมือง และมีเวทีการแสดงในท้องถิ่นให้ประชาชนได้ชมอย่างต่อเนื่อง

Participatory Action Research to Conserve Promote and Inherit Local Performance Supanburi Province

This research was an action qualitative research to study problems, needs, and model of conservation, promotion and inherit the local performance of Supanburi province. Qualitative research techniques employed were in-depth interview, focus group discussion and a meeting with local experts, practitioners and those associated with local performance in Supanburi province.

The research findings showed that Supanburi local performances played in people’s lives for over 100 years now are missing due to lack of promotion and support with less attention to inherit. The local experts intended to promote, conserve and inherit through the cooperation and active participation of various parties and collectively designed conservation model to promote and inherit the local performances. Many parties held a traditional song, E-Saew (อีแซว), during Wat PaLelai fair Songkran and Loy Krathong festival. The suggested model included telling the story of local songs, demo songs by famous local singers in Supanburi and performed local performances of E-Saew (อีแซว) by students of Supanburi. Before the show the students were trained by famous local singers to convey the songs. Research activities of local song of E-Saew with collaboration of various organizations were held : 1) Conservation activity was conducted by “Mae Khanjit SripraJan” - a national artist, “Mr. Sujin Sriprajan” and “Mae Samnieng Chaoplayna” - outstanding artists and music teachers. They demoed and transferred the knowledge to interested students of the schools in Suphanburi. 2) The District Administration Office promoted and supported the performances and training of young folk songs 3) Youth were trained by local music teachers to inherit and a platform f or people to watch the show was provided to continue the show.

Downloads

Published

2022-03-01

How to Cite

จันทาโภ อ., & ศิลตระกูล ว. (2022). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการอนุรักษ์ ส่งเสริม และสืบทอดการแสดงพื้นเมืองสุพรรณบุรี. Asian Journal of Arts and Culture, 15(2), 91–100. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95374

Issue

Section

Academic Articles