การปรับตัวของอาชีพแม่ค้า : กรณีศึกษาแม่ค้า ในตลาดนับอนุสรณ์ท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • สิริพร รอดเกลี้ยง สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords:

แม่ค้า, การปรับตัว, ตลาดนับอนุสรณ์, women merchants, adaption, Nub-Anusorn market

Abstract

วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อศึกษาการพัฒนาของเมืองท่าศาลา ที่ส่งผลกระทบต่อการปรับตัวของแม่ค้าในตลาดสดนับอนุสรณ์ พบว่า แม่ค้าในอดีตไม่ต้องปรับตัวในการค้าขายเพราะสินค้าที่นำมาขาย สามารถหาได้ในสวนของตนเอง การเติบโตของเมืองท่าศาลาในอดีตก็ยังไม่เจริญ จำนวนผู้คนก็มีน้อย ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าก็เป็นไปในลักษณะไม่เน้นเงินมากนัก นอกจากนี้แม่ค้าเป็นผู้ผลิตสินค้าออกขายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว โดยมีตลาดเป็นพื้นที่ที่ทำให้ผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในเรื่องเศรษฐกิจของครัวเรือนและของชุมชนในขณะนั้น

อย่างไรก็ตาม การปรับตัวของแม่ค้า มีเงื่อนไขส่วนหนึ่งมาจาก การปรับตัวของพื้นที่ตลาดและการพัฒนาเมืองของท่าศาลา ที่ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด และอีกส่วนหนึ่งเป็นการปรับตัวให้เข้ากับรูปแบบของการดำรงชีวิตของชนชั้นกลางในเมืองในฐานะผู้บริโภคในขณะเดียวกันแม่ค้าก็ต้องปรับตัวเพื่อการต่อรองกับการค้าขายที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นทั้งจากแม่ค้ารายย่อยที่ขายสินค้าชนิดเดียวกันในบริเวณตลาดนับอนุสรณ์ แม่ค้าในตลาดสดอื่นๆ และ การค้าขายที่มาในรูปของ “ตลาดสดติดแอร์” ด้วย เงื่อนไขดังกล่าวจึงทำให้แม่ค้าต้องปรับตัวผ่านการทำงานอย่างรวดเร็วเพื่อการแข่งขันในการอยู่รอด

Adaptation of Women Merchants : A Case Study of Thasala Nubanusorn Thasala District, Nakhon-Si-Thammarat Province

The purpose of this research is to study the development of Thasala District affecting adaptation of women merchants at Nub-Anusorn market. The result showed that in the past, women merchants did not adapt for trade because products were brought from their farms. Moreover, the growth of Thasala District did not increase; there were not many people in the city; the exchange system of products did not focus on money. Also, women merchants themselves produced goods to sell for their living. Therefore, the market was an area for women merchants to play an important role in economy of both their families and their communities at that time.

However, the adaption of women merchants was a part of conditions from the adaption of the market area and the development of Thasala District for their survival. Also, it was the adaption of middle-class living styles as consumers in the city. At the same time, the women merchants had to adapt for negotiation with increasing trade from small merchants selling the same products in both the areas of Nub-Anusorn market and other markets as well as air-conditioning markets. Consequently, these conditions drive women merchants to adapt to work more quickly in order to survive in this competition.

Downloads

Published

2022-03-01

How to Cite

รอดเกลี้ยง ส. (2022). การปรับตัวของอาชีพแม่ค้า : กรณีศึกษาแม่ค้า ในตลาดนับอนุสรณ์ท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช. Asian Journal of Arts and Culture, 15(2), 153–170. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95378

Issue

Section

Academic Articles