การเปลี่ยนแปลงสิทธิในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ป่าประ และความขัดแย้ง: กรณีศึกษาป่าประในเขตอุทยานแห่งชาติเขานัน อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • สายฝน จิตนุพงศ์ สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Keywords:

สิทธิในการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากร, usufruct rights

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้ต้องการศึกษาว่าสิทธิการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในป่าประเขานันแต่เดิมเป็นอย่างไร เปลี่ยนแปลงมาอย่างไร มีเงื่อนไขอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่พลวัตความขัดแย้งอย่างไร ผู้ใช้ทรัพยากรในป่าประเคลื่อนไหวต่อรองหรือปรับตัวอย่างไร เพื่อให้ได้สิทธิการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในป่าประดังกล่าว ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

มีชาวบ้านในชุมชนใกล้ป่าประได้เข้าไปใช้ทรัพยากรมาไม่น้อยกว่า 100 ปีแล้วในช่วงนี้ทรัพยากรยังมีความอุดมสมบูรณ์มาก คนใช้ยังมีน้อย คนมีความใกล้ชิดกัน และยังเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ ในขณะที่อำนาจของรัฐและทุนยังขยายตัวขึ้นไปไม่ถึง สิทธิการเข้าถึงจึงปรากฏออกมาในลักษณะของสิทธิการใช้ประโยชน์ (usufruct rights) คือทุกคนมีสิทธิเข้าถึงทรัพยากรได้ถ้าต้องการนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต ส่วนสิทธิการใช้ประโยชน์นั้นชาวบ้านมีสิทธิใช้ประโยชน์ทรัพยากรเท่าที่จำเป็น ใช้อย่างคุ้มค่า และใช้แบบไม่ทำลาย ในยุคนี้ยังไม่มีเงื่อนไขเชิงโครงสร้างที่จะทำให้ชาวบ้านเกิดความขัดแย้งกัน

ในช่วงปลายทศวรรษ 2490 รัฐบาลได้ให้สัมปทานขุดแร่แหล่งแรก และให้สัมปทานอีกแหล่งหนึ่งในต้นทศวรรษ 2510 บริษัทขุดแร่ได้สร้างถนนลงมายังพื้นที่ล่างเพื่อใช้ลำเลียงแร่ ถนนดังกล่าวนี้ส่วหนึ่งได้ผ่านไปใกล้พื้นที่ป่าประด้วย การเกิดถนนทำให้อิทธิพลของตลาดเข้าสู่ชุมชนต่าง ๆ ทั้งทางกายภาพและทางความคิด พร้อมกับเป็นเส้นทางให้คนจากพื้นล่างขึ้นไปหักร้างถางพงหาที่ทำกินและสร้างที่อยู่อาศัย ทำให้มีคนเข้าไปใช้ประโยชน์ทรัพยากรในป่าประเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในต้นทศวรรษ 2510 รัฐบาลได้ให้สัมปทานป่าไม้บริเวณที่ไม่ไกลจากป่าประนัก แต่ว่าบริษัทที่ได้รับสัมปทานได้ลักลอบเข้าไปตัดไม้ในป่าประด้วย โดยอ้างกับชาวบ้านว่าได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว ทำให้ชาวบ้านรู้สึกว่าป่าไม้ไม่ได้เป็นของพวกเขาอีกต่อไป และเริ่มไม่แน่ใจในอำนาจของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในการเป็นเจ้าป่าเจ้าเขา เพราะบริษัทที่เข้ามาตัดไม้ใช้เลื่อยยนต์โค่นไม้ลงมาอย่างง่ายดาย รวมทั้งชาวบ้านเห็นว่ารัฐได้เอาป่าไม้ที่พวกเขาเคยดูแลและใช้ประโยชน์ไปให้นายทุน ในขณะที่เศรษฐกิจแบบใหม่ได้เข้าไปมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านมากขึ้น ทำให้ชาวบ้านได้ถอยห่างออกมาจากแบบแผนการใช้ทรัพยากรที่เป็นมาแต่เดิมมากขึ้นเป็นลำดับ และปรับตัวไปสู่ความสัมพันธ์แบบใหม่ที่จะช่วยให้พวกเขาสามารถนำทรัพยากรในป่าประมาใช้ประโยชน์ในตลาดสมัยใหม่ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิทธิในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ทรัพยากรในป่าประ โดยสิทธิการเข้าถึงทรัพยากรได้เปลี่ยนไปสู่การเข้าถึงแบบเสรี (open access) และการเข้าถึงแบบการถือครองเป็นทรัพย์สินส่วนบุคคล(private property) การเข้าถึงแบบเสรีจะเกิดในกรณีการตัดไม้ การเก็บลูกประ และการเก็บของป่าอื่น ๆ ส่วนการถือครองเป็นทรัพย์สินส่วนตัวได้แก่การบุกเบิกป่าเพื่อถือครองที่ดินสำหรับการตั้งบ้านเรือนและการทำสวน ในขณะเดียวกันสิทธิการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในป่าประในยุคนี้ก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไปสู่การนำทรัพยากรจากป่าประมาใช้ประโยชน์เพื่อสร้างรายได้ให้มากที่สุด ภายใต้การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในหลายมิติควบคู่มาด้วย ตั้งแต่ความขัดแย้งระหว่างโครงสร้างการจัดการทรัพยากรของชุมชนกับโครงสร้างอำนาจของรัฐและทุน ความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านกับรัฐและทุน และความขัดแย้งระหว่างชาวบ้านด้วยกันเอง ในสถานการณ์ความขัดแย้งเช่นนี้ชาวบ้านได้ปรับตัวออกจากโครงสร้างอำนาจของชุมชนไปสู่การโอนอ่อนต่ออำนาจของตลาด คือการพยายามใช้สิทธิการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในป่าประไปในทางที่จะนำทรัพยากรมาขายในตลาดอย่างเต็มที่จนกระทั่งปี 2535 รัฐบาลได้ประกาศจัดตั้งอุทยานแห่งชาติเขานัน ซึ่งพื้นที่ป่าประก็อยู่ในเขตอุทยานดังกล่าวด้วย การเกิดขึ้นของอุทยานแห่งชาติกลับเร่งให้เกิดการพัฒนาสิทธิการเข้าถึงไปในทางของการใช้ทรัพยากรบางส่วนอย่างเสรี (open access) มากขึ้น และการยึดทรัพยากรบางส่วนเป็นของส่วนตัว (private property) มากขึ้น ในขณะที่สิทธิการใช้ประโยชน์ก็ปรากฏในรูปของการนำทรัพยากรมาขายให้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะชาวบ้านมองว่าทรัพยากรที่อยู่ในเขตอุทยานนั้นเป็นของหลวงใครจะใช้อย่างไรก็ได้ ในขณะที่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่อุทยานชาวบ้านก็ไม่เกรงกลัว เพราะชาวบ้านมีวิธีที่จะหลบหลีกและกดดันให้รอดพ้นจากการจับกุม พร้อมกันนี้การขยายตัวของตลาดทุนนิยมเข้าไปในพื้นที่ก็มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ที่ดินในป่าจำนวนมากถูกขายให้แก่คนพื้นล่าง ในสถานการณ์เช่นนี้ยิ่งทำให้ความขัดแย้งเข้มข้นขึ้นอีก เพราะยิ่งแสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่อุทยานถูกท้าทายในเรื่องการปฏิบัติตามกฎหมาย และชาวบ้านไม่หวั่นเกรงอำนาจรัฐ ในขณะที่ได้เพิ่มอำนาจของคนอีกกลุ่มเข้ามาหนุนชาวบ้าน คือกลุ่มคนที่เข้ามาซื้อที่ดิน เพราะคนกลุ่มนี้มักจะมีอำนาจอยู่ในสังคม ในความขัดแย้งดังกล่าวนี้ชาวบ้านพยายามนำกลยุทธ์การต่อรองหลายอย่างมาใช้ได้แก่ การแผ้วถางป่าแบบหลบซ่อนและหลบหลีกไม่ให้เจ้าหน้าที่อุทยานมาพบเห็น แบบทำเป็นไม่รู้อะไรเมื่อเจ้าหน้าที่อุทยานมาพบ แบบสร้างภาพลักษณ์ให้สังคมสนับสนุน และแบบเรียกร้องขอความเป็นธรรม

สำหรับแนวทางการแก้ปัญหานั้นรัฐจะต้องยอมรับหลักการการจัดการเชิงซ้อน คือฟื้นฟูหลักการเดิมของชุมชนมาใช้ร่วมกับหลักการของรัฐ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถอยู่ร่วมกับป่าได้ในขณะที่รัฐสามารถรักษาพื้นที่ป่าไว้ได้ด้วยเช่นกัน

Changes in Rights of Access and Withdrawal in Pra Forest, and Conflict: A Case Study of Pra Forest, Khao Nan National Park, Noppitam District, Nakhon Si Thammarat Province

This thesis aims to study the changes in rights of access and withdrawal of resources in the Pra Forest at Khao Nun in order to identify the origin, the changes process and the conditions that affect changes which eventually lead to the dynamism of conflicts, the people’s movement towards negotiation and adaptation for rights of access and withdrawal. The findings of the study are as follows:

The people in the communities near Pra forest had been exploiting the resources in the fertile forest for over 100 years. At that time, there were fewer people who were closely knitted and had a firm belief in supernatural powers while they were in accessible for the power of state and capital. In the format of usufruct rights, i.e. everyone could equally access the resources for daily living, the rights to use available resources was that resources must be used as a necessity, something precious and something to be preserved. In this period, there were no conditions in the structure that led to conflict.

Towards the end of the decade (B.E. 2490), the government tendered out the rights to mining on Kao Lek to another party on Krung Ching at the beginning of the decade (B.E. 2510). The mining companies then built roads to transport their dug-up minerals. These roads not only passed nearby the forest area making the markets influence communities both physically and spiritually but also transported people from downhill areas to deforest the land for settlements and home buildings. As a result, there have been an increasing number of people to make their livelihoods on the Pra Forest.

At the beginning of the decade (B.E. 2510), the government tendered out the forest area, not far from Pra Forest but the authorized companies took this opportunity to illegally fell down trees by announcing to the villagers that they were authorized by the government to do so, causing the people to feel that the forest was no longer theirs and began to doubt the sacred power of the supernatural protectors of the mountain and the forest when they could see with their own eyes how easy tress were felled down by the machines.

In addition, with this development, the villagers seemed to misunderstand that the state had transferred the rights to care and the rights to benefit from the forest to capitalists, while the new paradigm of economy greatly influenced the livelihoods of the people, gradually deviating them from their original plan of resource use. The adaptation to the new pattern of relationship enabled them to make use of resources in the Pra Forest in the new market. Such changes resulted in the changes of rights to access and withdrawal of the forest to “open access” and “private property”. Open access covered deforestation, picking Pra seeds and forest plucking in other forms. Private property resulted in forest clearing for home settlements and gardening. In this period, the exploitation of the forest was in the form of turning forest resources into incomes. Under this change, conflicts in various dimensions occurred, ranging from the conflict in the structure of power of the community to manage the forest resources and that of the state and the capitalists, the conflicts between the villages and the state/capitalists, and the conflicts among the villagers themselves. With these conflicts, the villagers finally moved themselves from the structure of the community power to submission to the power of the market. That is, they would exploit the rights of access and withdrawal of the resources in the Pra Forest for ways to market these resources for their own benefits.

In B.E. 2535, the government declared the area the National Park of Khao Nan and the Pra Forest became part of it. The newly-derived status of the area as the “national park“ sped up development of the access rights into open access and an increase of overtaking some resources to be “private property”. The withdrawal rights demonstrated more clearly in the marketing of resources. The villagers, subsequently, assume that the resources in the public land belonged to no one, meaning everyone has the rights to use it. The villagers are no longer afraid of the park officials because they have their own ways to avoid being arrested. The aggressive expansion of the free market has continued: the forest land has been sold to people on the lower areas and come more conflicts. The parks officials are indeed challenged of their legal authorities. The villagers have ignored the power of state. At the same time, another group of people, that is, land buyers who have social powers have become more powerful in support of the villagers. Facing this conflict, the villagers have tried to use various negotiating strategies such as hide-andseek forest clearing to avoid being spotted by the park officials. If caught, they would pretend to know nothing when the officials arrive as well as create a positive image for wider social support and beg for justice to their plight.

As for solutions to the problems, the government must accept the co- management principles, that is, revive previous principles in use and realign them with the state principles in order for the coexistence of the forest and the people and only in this way would the state be able to preserve the forest areas.

Downloads

How to Cite

จิตนุพงศ์ ส. (2016). การเปลี่ยนแปลงสิทธิในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ป่าประ และความขัดแย้ง: กรณีศึกษาป่าประในเขตอุทยานแห่งชาติเขานัน อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช. Asian Journal of Arts and Culture, 16(1), 115–142. Retrieved from https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95385

Issue

Section

Academic Articles