การพัฒนามโนทัศน์วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน

Main Article Content

ฉัตรมงคล สีประสงค์
เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์
นพมณี เชื้อวัชรินทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนามโนทัศน์วิชาชีววิทยา เรื่องระบบต่อมไร้ท่อ และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแสนสุข จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 27 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ แบบทดสอบวัดมโนทัศน์วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และแบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที t-test แบบ Dependent sample และการทดสอบค่าที t-test แบบ One sample และการเทียบเกณฑ์ร้อยละ 75 ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง ผลวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีมโนทัศน์วิชาชีววิทยาเรื่อง ระบบต่อมไร้ท่อ และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา คงสวัสดิ์. (2554). วิทยาศาสตร์: ปฐมวัย. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2560, จาก http://www.edba.in.th/EDBA_M/index.php?option=com_content&view=article&id=51
ฉวีวรรณ สีสม. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานในหน่วยการเรียนรู้วิชาเคมีทั่วไปสำหรับนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา.วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ณัฐพงศ์ แตงเพชร์. (2556). การพัฒนาแนวคิดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องการรับรู้และการตอบสนองของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธัญชนก โหน่งกดหลด. (2554). ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นและการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการมัธยมศึกษา, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปวีณา วิชนี. (2558). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และเจตคติต่อวิชาชีววิยา เรื่องอาณาจักรของสิ่งมีชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐาน (BBL) ร่วมกับการใช้เทคนิคเกม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. หมาวิทยาลัยบูรพา
ลักขณา สริวัฒน์.(2549). การคิด (Thinking) .กรุงเทพฯ: โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮาส์,
สกาว แสงอ่อน. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรม เรื่อง สับปะรดท้องถิ่นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์สำหรับ นักเรียนช่วงชั้น ที่ 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สถาบันภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การศึกษาผลการติดตามการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางสมอง (BBL: Brain-based Learning) ระดับประถมศึกษาในโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบเข้มแข็ง. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด
สุทธิวรรณ พีรศักดิ์โสภณ.(ไม่ระบุปีที่พิมพ์). การเขียนข้อสอบวัด “การคิดวิเคราะห์”.เอกสารประกอบคำบรรยาย . มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 28-35
ศศิเทพ ปิติพรเทพิน. (2558).การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับสังคมแห่งศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ:บริษัท เนว่าเอ็ดดูเคชัน จำกัด.
อรนุช ลิมตศิริ. (2555).การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Caine, R.N., G. Caine, C. McClintic, and K. Klimek. (2008). 12 brain/mind learning principles in action. CA: Corwin Press.
Groothius, S., H.P.A. Boshuizen, and J. L. Talmon. (1998). An analysis of the conceptual difficulties of the endrocrinology domain and an empirical analysis of student and expert understanding of that domain. Journal of Research in Science Teaching, 563-592
Jensen, E. (2008). Brain-based learning. 2nd ed. California: Corwin Press.
Mangan, J.A. (1998). The game Ethic and Imperialism: Aspects of the diffusion an Idea, 247-258
Roekel V. B. (2002). Brain-based Learning: Implications for the Elementary Classroom. Part of the Cognitive Neuroscience Commons, Curriculum and Instruction Commons, and the Educational Methods Commons.
Saleh, S. (2012). The effectiveness of the brain based teaching approach in enhanching scientific understanding of Newtonian physics among from four students. International Journal of Enviroment & Science Education. 91-106