ผลลัพธ์ของหลักสูตรอุตสาหกรรมศึกษา: ผ่านมุมมองของบัณฑิต

Main Article Content

สมเกียรติ อินทสิงห์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของหลักสูตรสาขาวิชาอุตสาหกรรมศึกษา โดยพิจารณาจากสมรรถนะของบัณฑิตและความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพของหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2557-2560 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินสมรรถนะของบัณฑิตและความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพของหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


  1. บัณฑิตมีสมรรถนะเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ครอบคลุมตามผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณธรรมจริยธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านทักษะการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก

  2. บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อคุณภาพของหลักสูตรในภาพรวม โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

สมเกียรติ อินทสิงห์

graduate student at Kasetsart University

References

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2558). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.
ราชกิจจานุเบกษา. (2558). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. ๒๕๕๘. สืบค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2562 จาก https://www.mua.go.th/users/bhes/front_home/criterion58/criterion_b58.PDF
สมเกียรติ อินทสิงห์, ปทุมวดี ศิริสวัสดิ์, บุญรอด โชติวชิรา, สิระ สมนาม, ดวงหทัยรัฐ กาญจนรัชตพงศ์ และพิชญภณ ศรีนวล. (2561). ความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อคุณภาพของหลักสูตรและเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(1), 33-40.
สมเกียรติ อินทสิงห์, ประไพลิน จันทน์หอม, เดือนวิสาข์ ชลศิริ, กิตติวัฒน์ ขวัญเรืองอริยะ, จารี สุขบุญสังข์, กิตติ ไชยพาน และ คณิเทพ ปิตุภูมินาค. (2561). คุณลักษณะของบัณฑิตตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและความพึงพอใจที่มีต่อคุณภาพของหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2561, วันที่ 12 ธันวาคม 2561 ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่, หน้า 249-260.
สมเกียรติ อินทสิงห์, สุนทรี คนเที่ยง, นิธิดา อดิภัทรนันท์, พงษ์ศักดิ์ แป้นแก้ว, นทัต อัศภาภรณ์, ศักดา สวาทะนันทน์ และ นงลักษณ์ เขียนงาม. (2560). การวิพากษ์กระบวนวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตร การสอน และเทคโนโลยีการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามกรอบ 3 คุณ. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(1), 36-46.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
Boyle, B., & Charles, M. (2016). Curriculum Development. London: SAGE Publication Ltd.
Mercer, S., & Gkonou, C. (2017). Teaching with Heart and Soul. In T. S. Gregersen, & P. D. Maclntyre (Eds.). Innovative Practices in Language Teacher Education: Spanning the Spectrum from Intra to Inter-Personal Professional Development (pp. 103-124). Switzerland: Springer.
Ornstein, A. C., & Hunkins, F. P. (2018). Curriculum Foundations, Principles and Issues. 7th ed. New Jersey: Englewood Cliffs.
Oliva, P. F., & Gordon II, W. R. (2013). Developing the Curriculum. 8th ed. Singapore: Pearson Education South Asia Pte Ltd.
Stake, R. E. (2010). Qualitative research : studying how things work. New York, NY : The Guilford Press.
Stake, R. E. (n.d.). The Coutenance of educational evaluation. Retrieved November 17, 2016. From https://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.543.5561&rep=rep1&type=pdf