แนวทางสู่ความสำเร็จของการจัดการศึกษาในโรงเรียนมาตรฐานสากล

Main Article Content

ยุพิน บุญประเสริฐ

บทคัดย่อ

          โครงการโรงเรียนมาตรฐานสากล เป็นนวัตกรรมการจัดการศึกษา ที่นำมาใช้เป็นมาตรการเร่งด่วนในการยกระดับการจัดการศึกษาของไทยให้มีคุณภาพมาตรฐานเทียบเท่ากับประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาสูง แนวทางการจัดการศึกษาในโรงเรียนมาตรฐานสากลที่ประสบผลสำเร็จนั้น ต้องดำเนินการทุกด้านพร้อมกัน ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาคุณภาพครูทั้งด้านความรู้และสมรรถนะ หลักสูตรสถานศึกษาควรกระชับ และบูรณาการการเรียนรู้โดยมุ่งเน้นสหวิทยาการของวิชาแกนหลักเป็นฐาน เปิดกว้างให้โรงเรียนแต่ละแห่งสามารถพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทของตน การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบการสร้างความรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย ส่งเสริมทักษะการคิดขั้นสูง ครูมีบทบาทเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้และสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนให้แก่ผู้เรียน การจัดชั้นเรียนควรคละนักเรียนเก่ง-ปานกลาง-อ่อน เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้วิธีการเรียนและกระบวนการทางสังคม การวัดและประเมินผลในระดับโรงเรียนควรดำเนินการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้และวิเคราะห์ผู้เรียน ส่วนการประเมินในระดับชั้นเรียน ควรเน้นการทดสอบเพื่อวัดความรู้ความเข้าใจและทักษะ แทนการเน้นเนื้อหา ด้านคุณภาพผู้เรียน ควรเน้นการพัฒนาทักษะเป็นสำคัญ ได้แก่ ทักษะพื้นฐาน และทักษะการทำงาน รวมไปถึงการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้กับผู้เรียน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กษมาพร ทองเอื้อ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมาตรฐานสากล. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นลพรรณ บับพาน (2559). คุณลักษณะและศักยภาพผู้เรียนที่เป็นสากล ของโรงเรียนมาตรฐานสากล ในเขต จังหวัดนครพนม และมุกดาหาร การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน” 17 มิถุนายน 2559 ณ วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
ประพันธ์ บุญวรรณ และฉัตรทิพย์ สุวรรณชิน. (2558). สภาพปัญหาการบริหารงานโรงเรียนมาตรฐานสากล กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดแม่ฮ่องสอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 34. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น ปีที่ 3 (1) (มิถุนายน 2557 – พฤษภาคม 2558).
พรรษประเวศ สัตตบุษย์วรกุล. (2557). การสังเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจและชีวิตจริงเพื่อระบุปัญหา
และการแก้ไขการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล : An Online Journal of
Education. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560 จาก http://www.edu.chula.ac.th/ojed.
พิชัย เหลืองอรุณ. (2555). สภาพและปัญหาการดำเนินงานวิชาการของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. OJED,7, (1), (261-275) สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560
จาก http://www.edu.chula.ac.th/ojed/doc/V71/v71d0019.pdf
ภานุภัทร จรัสนูพิพัฒน์ และคณะ. (2555). สภาพและปญหาการใชหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเขารวมโครงการ โรงเรียนมาตรฐานสากล เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตรอุตสาหกรรม. ปที่ 11(2) (กุมภาพันธ – พฤษภาคม), (186).
วจีพร แก้วหล้า จินตนา จันทร์เจริญ และ วีรพันธ์ ศิริฤทธิ์. (2558). การบริหารสถานศึกษาสู่โรงเรียน
มาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาที่ 37. E-Journal, Silpakorn University. ปีที่ 8(1), (1099-1107).
สถาบันรามจิตติ. (2560). จับกระแสการพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21: ข้อคิดและทิศทางเพื่อการพัฒนาครูไทย. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560 จาก http://www.ramajitti.com/info_point.php.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559ก). สรุปผลการประเมิน PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่าน และคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560 จาก http://pisathailand.ipst.ac.th.
______. (2559ข). สรุปผลการวิจัยโครงการ TIMSS 2015. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560 จาก http://timssthailand.ipst.ac.th.
______. (2560). FOCUS ประเด็นจาก PISA : 21 (กันยายน 2560). สืบค้นเมื่อ 22 กันยายน 2560 จาก
http://pisathailand.ipst.ac.th/issue-2017-21
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2555). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนมาตรฐานสากล (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). IMD 2015 จัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2560 จากhttp://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1421-file.pdf.
______. (2560). สภาวะการศึกษาไทย ปี 2558/2559 ความจำเป็นของการแข่งขันและการกระจายอำนาจในระบบการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2560ก). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560 จากhttp://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM3_2559.pdf
______. (2560ข). สรุปผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2559. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2560 จากhttp://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2559.pdf
อุดม ชูลีวรรณ. (2559). รูปแบบการพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา สู่ความเป็นเลิศระดับสากล. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบันฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Briggs, S., (2013). Pearson Education Releases Global Education Index, (Online), Retrieved August 10, 2016 from: https://www.opencolleges.edu.au/informed/other/pearson-education-releases-global-education-index-4336/.