การพัฒนาความมั่นใจในการนำเสนองานของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย โดยใช้วิธีการสอนแบบให้รางวัลในการเสริมแรงทางบวก

Main Article Content

ศิริพร วงค์ตาคำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความมั่นใจในการนำเสนองานของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยที่เรียนด้วยวิธีการสอนแบบให้รางวัลเสริมแรงทางบวกและเพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบให้รางวัลเสริมแรงทางบวกของนักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ชั้นปีที่ 2 กลุ่ม 2 ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 29 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมินความมั่นใจในการนำเสนองานและแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อวิธีการสอนแบบให้รางวัลเสริมแรงทางบวก ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงมาตรฐาน (.) ประกอบความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการใช้แผนการสอนแบบให้รางวัลเสริมแรงทางบวก นักศึกษาสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยมีความมั่นใจในการนำเสนองานโดยภาพรวมสูงขึ้น โดยก่อนการทดลองมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 41.63 อยู่ในระดับปานกลาง หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 66.14 อยู่ในระดับสูงที่สุด 2) ความพึงพอใจต่อวิธีการสอนแบบให้รางวัลเสริมแรงทางบวก โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากขึ้นไป โดยมีความพึงพอใจที่วิธีการสอนแบบให้รางวัลเสริมแรงทางบวกทำให้เกิดความมั่นใจในการนำเสนองาน กล้าแสดงออก เข้าใจตนเองและผู้อื่น รู้จักวิธีการควบคุมอารมณ์ของตนเอง มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ อุทิศไทย. (2543). การเปรียบเทียบการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกรกับการเสริมแรงทาง
สังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องการบวกการลบ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนชุมชนบ้านคลองสาน จังหวัดกำแพงเพชร. บัณฑิตวิทยาลัย. หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
กุญชรี ค้าขาย. (2544). จิตวิทยาเพื่อการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์
สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.
กรองแก้ว อยู่สุข. (2535). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จิราภา เต็งไตรรัตน์. (2544). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จุรีรัตน์ ธัยมาตร. (2525). ผลการใช้แรงเสริมแลกเปลี่ยนต่อพฤติกรรมไม่ทำการบ้านของนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่2 โรงเรียนบางประอิน ราชานุเคราะห์หนึ่ง. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
บัวสอน วงศ์สนิท. (2546). ผลของการเสริมแรงด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการใช้เบี้ย
อรรถกรและการให้ข้อมูลย้อนกลับควบคู่กับการใช้หลักรีแมค เพื่อพัฒนาการจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษ. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.
ประเทือง ภูมิภัทราคม. (2540). การปรับพฤติกรรม : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร:
โอเดียนสโตร์.
ประทีป จินงี่. (2540). เอกสารประกอบการสอนวิชา : การวิเคราะห์พฤติกรรมและการปรับ
พฤติกรรม (Behavior analysis and behavior modification). กรุงเทพมหานคร:
สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์. (2536). การปรับพฤติกรรมเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2554). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิริบูรณ์ ศรีสุวรรณ. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีการเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศิริโสภาคย์ บูรพาเดชะ. (2527). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2526). การปรับพฤติกรรม (Behavior modification). พิมพ์ครั้งที่1.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
...................................... (2536). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพมหานคร:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
...................................... (2541). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (Theories and
Techniques in Behavior modification). พิมพ์ครั้งที่3. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
.................................... (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 6.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2546). ระเบียบวิธีการการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:
สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
สุพานี สฤษฏ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่ แนวคิดทฤษฎี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุริยะ ประทุมรัตน์. (2557). การพัฒนาความมั่นใจในการพูดภาษาอังกฤษของนักศึกษา
สาขาวิชาสังคมศึกษาระดับปริญญาตรี โดยใช้รางวัลในการเสริมแรงทางบวก. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 6(12). กรกฎาคม-ธันวาคม 2557.
โสภิดา ลิ้มวัฒนาพันธ์. (2538). การเปรียบเทียบผลของการปรับพฤติกรรมโดยใช้การควบคุม
ตนเองกับการเสริมแรงทางบวกด้วยเบี้ยอรรถกร ที่มีต่อการเพิ่มและการคงอยู่ของพฤติกรรมความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคบุรีรัมย์ ชั้นปีที่1. ปริญญานิพนธ์ วท.ม.(พฤติกรรมศาสตร์). สถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ (ฉบับ
ปรับปรุง) 2560. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.
อิชยา จีนะกาญจน์ และสุวรี ศิวะแพทย์. (2554). ผลของการใช้เทคนิคการเสริมแรงด้วยกิจกรรมต่อ
พฤติกรรมความไม่ใส่ใจการเรียน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 5(2). เมษายน-มิถุนายน 2554.
Daft, R. L. and Marcic, D. (2007). Management the New Workplace. Ohio:
Thomson South Western.
Schermerhorn, J.R., Hunt, J.G. and Osborn, R.N. (2003). Organizational Behavior.
8th ed. USA: John Wiley & Sons