ผลการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ เรื่อง วิวัฒนาการ ที่มีต่อการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

Thanyarat Sukkasem

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน (5 STEPs) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ เรื่อง วิวัฒนาการ แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระจากกัน และการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ผลวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียน (  7.48, S.D. 2.53) สูงกว่าก่อนเรียน (  3.70, S.D. 2.13) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียน (  22.10, S.D. 1.67) สูงกว่าก่อนเรียน (  9.25, S.D. 3.43) และหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แนวการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมาตรฐานสากลฉบับปรับปรุง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ผลการประเมิน PISA 2012 คณิตศาสตร์ การอ่าน และวิทยาศาสตร์ บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. สมุทรปราการ: แอดวานซ์พริ้นติ้ง เซอร์วิช.
กัญญา สิทธิศุภเศรษฐ์. (2548). ผลการใช้กิจกรรมตั้งคำถามที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่มีความสามารถทางการ เรียนแตกต่างกัน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาหลักสูตรและการสอนบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จินตนา สุจจานันท์. (2554). การศึกษาตลอดชีวิตและการพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย
พิชญะ กันธิยะ. (2559). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น วิชาวิทยาศาสตร์ ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์บัณฑิตวิทยาลัย). สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2545). พฤติกรรมการสอนวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2557). การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ:
สุวีริยาสาส์น.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2539). เทคนิคการวัดผลการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดสีสฤษดิ์วงศ์.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2549). นวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้ . กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริน้ตงิ้เฮาส์.
ศศิวิมล สนิทบุญ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับการใช้คำถามเชิงวิเคราะห์ ที่มีต่อมโน ทัศน์และการคิดวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง ฟิสิกส์อะตอม. (วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). สาขาวิชาการสอนวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2546). การจัดสาระการเรียนรู้ กลุ่มวิทยาศาสตร์หลักสูตรการศึกษาขั้น พื้นฐาน. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) . (2559). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. เข้าถึงจาก http//www.niets.or.th.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555). การวัดผลประเมินผลวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูนิเคชัน.
สมโภชน์ อเนกสุข. (2559). การวิจัยทางการศึกษา Educational Research (พิมพ์ครั้งที่ 8). ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุริยา บัวหอม. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เรื่อง มนุษย์กับความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สำหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิทยาการทางการศึกษาและการจัดการเรียนรู้. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุริสา ไวแสน. (2555). การศึกษาการจัดการเรียนรู้เรื่องสารละลายกรด-เบส โดยการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการใช้ คำถามและผังมโนมติเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต). สาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา. หาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Bloom, B. S., (1956). Taxonomy of Education Objective Handbook I: Cognitive Domain. New York : David Mc Kay Company.