แบบแผนการตอบสนองต่อความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการพยาบาลประจำวัน

Authors

  • วัชรา ศิริกุลเสถียร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่
  • มาลี เอื้ออำนวย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ทารกเกิดก่อนกำหนด, การพยาบาลประจำวัน, การตอบสนองต่อความเครียด, Preterm Infant, Daily Nursing Care, Stress Responses

Abstract

บทคัดย่อ
การพยาบาลประจำวันอาจส่งผลให้เกิดความเครียดในทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งนำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพและพัฒนาการของทารกในอนาคตได้ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แบบแผนการตอบสนองต่อความเครียดของทารกเกิดกอ่ นกำหนดขณะได้รับการพยาบาลประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ทารกเกิดก่อนกำหนดที่มีอายุหลังปฏิสนธิ 32-36 สัปดาห์ ที่เข้ารับการรักษาในหออภิบาลทารกแรกเกิดโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 36 ราย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบบันทึกการตอบสนองต่อความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งผู้วิจัยปรับจากแบบสังเกตสื่อสัญญาณความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดของทิพย์สุดา เส็งพานิช (2550) ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ1 ความเชื่อมั่นในการประเมินการตอบสนองความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนด ระหว่างผู้วิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 ความเชื่อมั่นของการสังเกตของผู้วิจัยได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 1วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า
1. การตอบสนองต่อความเครียดในระบบสรีรวิทยาขณะได้รับการพยาบาลประจำวัน พบว่า ทารกเกิดก่อนกำหนดร้อยละ 63.88 และร้อยละ 50.00 มีอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 120 ครั้งต่อนาที หรือมากกวา่ 160 ครัง้ ตอ่ นาที ขณะไดร้ บั การเชด็ ตวั และการเปลีย่ นผา้ ออ้ ม ตามลำดับ ทารกเกดิ กอ่ นกำ หนดรอ้ ยละ25.00 และร้อยละ 5.60 มีค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดตํ่ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะได้รับการเช็ดตัว และการเปลี่ยนผ้าอ้อม ตามลำดับ
2. การเปลี่ยนแปลงที่พบมากที่สุดในอัตราการเต้นของหัวใจจากค่าพื้นฐาน โดยเพิ่มขึ้นหรือลดลง1-29 ครั้งต่อนาที และค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือดลดลงจากค่าพื้นฐาน 1-10 เปอร์เซ็นต์ คือขณะที่ทารกเกิดก่อนกำหนดได้รับการเช็ดตัว
3. การตอบสนองต่อความเครียดในระบบการทำงานของกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวขณะได้รับการพยาบาลประจำวัน พบว่า ทารกเกิดก่อนกำหนดทุกราย มีการส่ายศีรษะหรือขยับลำตัวในทุกกิจกรรมการพยาบาลประจำวัน ร้อยละ 95.83 กางนิ้วมือ ร้อยละ 94.44 แขนหรือขาอยู่ในท่าเหยียดหรือเหยียดกาง และร้อยละ 80.09 งอแขนขา และลำตัวมากกว่าปกติ
4. การกลับสู่ภาวะสมดุลภายหลังได้รับการพยาบาลประจำวัน พบว่าทารก เกิดก่อนกำหนดร้อยละ 41.66 และร้อยละ 27.77 ใช้เวลา 3.00 - 3.59 นาที และ 4.00 - 4.59 นาที ตามลำดับ เมื่อทารกกลับสู่ภาวะสมดุล ทารกเกิดก่อนกำหนดทุกราย ตอบสนองโดยงอนิ้วมือ ร้อยละ 88.88 วางมือใกล้ปากและร้อยละ 80.55 เท้าก่ายกัน
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การพยาบาลประจำวันมีผลต่อการตอบสนองต่อความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนด โดยเฉพาะกิจกรรมพยาบาลที่มีการกระตุ้นหรือจับต้องทารกเกิดก่อนกำหนด เป็นระยะเวลานาน พยาบาลและผู้ดูแลทารกควรตระหนักถึงการตอบสนองต่อความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการพยาบาลประจำวัน และควรให้การพยาบาลอย่างนุ่มนวล ในระยะเวลา ที่เหมาะสม และส่งเสริมให้ทารกกลับสู่ภาวะสมดุล
คำสำคัญ: ทารกเกิดก่อนกำหนด การพยาบาลประจำวัน การตอบสนองต่อความเครียด

Abstract
Daily nursing care may cause stress in preterm infants which leads to their health anddevelopment problems in the future. This descriptive research aimed to study the pattern ofstress responses among preterm infants while receiving daily nursing care. Subjects of thispurposive sample were thirty six preterm infants whose post conceptional ages were 32-36 weeksand were admitted to neonatal intensive care unit of Health Promoting Hospital, Chiang Maiprovince, during May to September 2010. Data collection tool was a preterm infant'sstress responses recording form which was modified from the “Stress Signal Responses ofPreterm Infants form” developed by Sengpanid (2007). Content validity index of the modifiedform was 1. The interrater reliability of the form was assessed between the researcher andan expert, the value was 0.99 and the intrarater reliability value was 1. Data were analyzed byusing descriptive statistics.
The results of study
1. Stress responses in autonomic subsystem while receiving daily nursing care, it wasfound that 63.88% and 50.00% of preterm infants had their heart rate less than 120 beats per minute or more than 160 beats per minute during sponge bath and diaper change,respectively. While 25% and 5.60% of preterm infants had oxygen saturation less than 90%during sponge bath and diaper change, respectively.
2. The greatest shift of heart rate from base line either increased or decreased between1-29 beats per minute whereas oxygen saturation decreased between 1-10% was found duringsponge bath.
3. Stress responses on motor subsystem while receiving daily nursing care, it was foundthat all preterm infants responded with frantic trunk or head in all nursing activities, 95.83% hadfinger splays, 94.44% had hypertonic extremities, and 80.09% had hyper flexion extremities.
4. Recovery time to stability after receiving daily nursing care, it was found that 41.66%and 27.77% of preterm infants used time to recover to stability between 3.00-3.59 minutes and4.00-4.59 minutes, respectively. When recovered to stability all preterm infants responded byhand grasping , 88.88% by hand to mouth and 80.55% by feet clasping.
The results of the study indicate that daily nursing care affects stress responses inpreterm infants, especially the nursing activities that stimulate or handle preterm infants for along period of time. Nurses and caregivers should be aware of stress responses in preterminfants while receiving daily nursing care and should provide gentle nursing care at appropriatetime, and promote preterm infants to recover to stability.
Key words: Preterm Infant, Daily Nursing Care, Stress Responses

Downloads

How to Cite

ศิริกุลเสถียร ว., เอื้ออำนวย ม., & กลั่นกลิ่น พ. (2014). แบบแผนการตอบสนองต่อความเครียดของทารกเกิดก่อนกำหนดขณะได้รับการพยาบาลประจำวัน. Nursing Journal CMU, 40(1), 127–139. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/18913