สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพและการพยาบาลที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลศูนย์กลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Authors

  • พรสวรรค์ มุ่ยอุดมเดช โรงพยาบาลมโหสถ
  • ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รัตนาวดี ชอนตะวัน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพ, การพยาบาลที่มีคุณภาพ, โรงพยาบาลศูนย์กลาง, ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Abstract

บทคัดย่อ
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพ เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาการพยาบาลที่มีคุณภาพ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาระดับของสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพและการพยาบาลที่มีคุณภาพและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพและการพยาบาลที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลศูนย์กลาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในของโรงพยาบาลศูนย์กลางสามแห่ง มีจำนวน 274 คนเลือกโดยการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ประกอบด้วยสามส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพ พัฒนาโดย เอริกสันและคณะ (2009) (Erickson, Ditomassi, Duffy, Jones, 2009) และการพยาบาลที่ดีที่พัฒนาโดย ไลโน-คิลพิ(1996) (Leino-Kilpi. 1996) ที่แปลเป็นภาษาลาวโดยผู้วิจัย ค่าความเชื่อมั่นที่วัดโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพ และการพยาบาลที่ดีที่ เท่ากับ 0.81 และ 0.93ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติหาความสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพตามการรับรู้ของพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับสูง
2. การพยาบาลที่มีคุณภาพตามการรับรู้ของพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับต่ำ
3. สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพมีความสัมพันธ์กับการพยาบาลที่มีคุณภาพในเชิงลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับผู้บริหารโรงพยาบาลและผู้บริหารการพยาบาลในการธำรงรักษาสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพและกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาการพยาบาลที่มีคุณภาพในโรพยาบาลศูนย์กลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
คำสำคัญ: สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพ การพยาบาลที่มีคุณภาพ โรงพยาบาลศูนย์กลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Abstract
A professional practice environment is an important factor for improving the quality ofnursing care. The purposes of this study were to explore the level of the professional practiceenvironment and quality nursing care, and to examine the relationship between a professionalpractice environment and quality nursing care in central hospitals, Lao PDR. The subjects included274 nurses who were randomly selected from nurses in the inpatient units of the three centralhospitals. Research instruments consist of three parts: a Demographic Data Form, the RevisedProfessional Practice Environment (RPPE) Scale developed by Erickson et al., (2009), and the GoodNursing Care Scale, developed by Leino - Kilpi (1996) translated in to Lao by the researcher. Thereliability coefficient of the RPPE scale and GNCS were 0.81 and 0.93 respectively. Descriptivestatistics and Pearson’s product moment correlation coefficient were employed for data analysis.
The results of study
1. The level of the overall professional practice environment as perceived by nurses was at ahigh level.
2. The level of the overall quality nursing care as perceived by nurses was at a low level.
3. There was a significant negative relationship between the level of overall professional practiceenvironment and the level of overall quality nursing care.
The results of this study can be used as baseline information for hospital administrators and nurseadministrators to maintain the practice environment as well as to develop strategies for improvingthe quality nursing care in central hospitals, the Lao People’s Democratic Republic.
Key words: Professional Practice Environment, Quality Nursing Care, Central Hospitals, The LaoPDR

Downloads

How to Cite

มุ่ยอุดมเดช พ., อัคคะเดชอนันต์ ฐ., & ชอนตะวัน ร. (2014). สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติวิชาชีพและการพยาบาลที่มีคุณภาพในโรงพยาบาลศูนย์กลาง ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. Nursing Journal CMU, 40(5), 23–32. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19051