พฤติกรรมการจัดการตนเอง และปัจจัยทำนายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

Authors

  • สุพิชา อาจคิดการ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก
  • ลินจง โปธิบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ดวงฤดี ลาศุขะ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

พฤติกรรมการจัดการตนเอง, โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย, การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

Abstract

บทคัดย่อ
พฤติกรรมการจัดการตนเองอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง  ปัจจัยทำนายในผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญสำหรับบุคคลากรสุขภาพในการดูแลผู้ป่วย การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการจัดการตนเอง และความสามารถทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของปัจจัยได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว ภาพสะท้อนทางความคิดต่อการเจ็บป่วย การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม ในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง 110ราย ที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคไต โรงพยาบาลนครพิงค์ เชียงใหม่ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก และโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  แบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเอง แบบวัดความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว  แบบวัดภาพสะท้อนทางความคิดต่อการเจ็บป่วย แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเอง และแบบวัดการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งได้ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา และหาความเชื่อมั่นแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า
1.คะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (x??SD =123.20?9.51) และเมื่อพิจารณาพฤติกรรมการจัดการตนเองจำแนกเป็นรายด้าน พบว่าพฤติกรรมการจัดการตนเองด้านการแพทย์ ด้านบทบาทที่ดำรงอยู่ในชีวิตประจำวัน และด้านอารมณ์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง (x?  ? S.D. = 102.92? 8.90, 8.35?1.40,12.0? 2.38)
2.คะแนนความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองและการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมอยู่ในระดับสูง (x?  =20.45?2.23, 175.48? 11.04, 2.64? 4.05) และภาพสะท้อนทางความคิดต่อการเจ็บป่วยอยู่ในระดับปานกลาง (x??S.D.= 225.42?21.08)
3.อายุ ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเองและการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง (p < 0.01)
4.อายุ ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัว การรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการจัดการตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองได้ร้อยละ 41 (p<0.001)
คำสำคัญ: พฤติกรรมการจัดการตนเอง โรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย การล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง

Abstract
Effective self-management is vital for the elderly with chronic end-stage re-nal disease undergoing continuous peritoneal dialysis. Knowledge of self-man -agement and its influencing factors in this particular group is, therefore, essen -tial for health personal in planning patient care intervention. This study aimed todescribe self management behaviors and examine the ability to predict self management  behaviors based on factors including personal factors, self care knowledge, illness representation, self-efficacy and social support. Participants  were people aged 60 years and over who were attending renal outpatient clinics at Nakorn Ping Hospital,  Buddhachinaraj Hospital, and Sawanpracharak Hospital (n = 110). Data were  collected through interviews using a personal data recording form, a self management behavior scale, a self-care knowledge scale, an illness representation score, a self efficacy scale and a social support scale whose content had been validated. Data were analyzed using descriptive statistics, Spearman Rankcorrelation , Pearson Product moment correlation, and multiple regression.
The results of study showed that:
1. The score for overall self-management behaviors was at a high level ( x?= 123.20?9.51), with sub dimensions including medical self-management, role  management, and emotional management behaviors also at a high level (x?  = 102.92? 8.90, 8.35?1.40, and 12.0?2.38, respectively).
2. The scores for self care knowledge, self management self-efficacy, and social support were at a high level (  x?  = 20.45 ? 2.23, 175.48? 11.0, and 42.64 ?4.05, respectively), whereas the score for illness representation was at a moderate level (  x?  = 225.42 ? 21.08).
3. Age, self management knowledge, self management self-efficacy and social support positively related to self –management behaviors ( p < 0.01).
4. Age, knowledge of the practices, self-efficacy in management and social support together coul d explain 41 percent of the variability in self-management behaviors ( p < 0.001).
Ke y words: Self management Behaviors, End Stage Renal Disease, Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis

Downloads

How to Cite

อาจคิดการ ส., โปธิบาล ล., & ลาศุขะ ด. (2014). พฤติกรรมการจัดการตนเอง และปัจจัยทำนายในผู้สูงอายุที่เป็นโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องอย่างต่อเนื่อง. Nursing Journal CMU, 40(6), 22–32. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19080