ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับในโรงพยาบาล: การจัดการโดยไม่ใช้ยา

Authors

  • จินดารัตน์ ชัยอาจ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การนอนหลับในโรงพยาบาล, ปัจจัยที่รบกวน, การจัดการโดยไม่ใช้ยา

Abstract

บทคัดย่อ
การนอนหลับมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล แต่พบว่าบุคคลหล่านี้มีการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพเนื่องจากมีปัจจัยรบกวนหลายประการ ซึ่งแบ่งได้เป็นปัจจัยภายใน (internal factors) และปัจจัยภายนอก (external factors) ปัจจัยภายในที่สำคัญ  ได้แก่ ความเจ็บป่วยจากโรคและผลข้างเคียงจากยาที่ใช้รักษาและความเครียดด้านจิตใจ ส่วนปัจจัยภายนอกที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาล เช่น เสียง แสง อุณหภูมิและการรบกวนจากการปฏิบัติการพยาบาลต่างๆ การจัดการปัญหาการนอนหลับของผู้ป่วย  นอกเหนือจากยาที่ใช้ในการส่งเสริมการนอนหลับแล้วยังมีวิธีการจัดการที่ไม่ใช้ยา ได้แก่ สุขบัญญัติของการนอนหลับ (sleep hygiene)การผ่อนคลาย (relaxation) การนวด (massage) การใช้ดนตรีบำบัด (music therapy) การใช้เสียงและภาพธรรมชาติ (natural sound and vision) การกระตุ้นด้วยจุด (acupoints) และสุคนธบำบัด (aromatherapy) วิธีการดังกล่าวบางวิธีการอาจจะยังมีผลไม่ชัดเจนต่อการนอนหลับ หรือมีการศึกษาที่ไม่เพียงพอที่จะสรุปถึงประสิทธิผล แต่ก็เป็นวิธีที่มีความปลอดภัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้
คำสำคัญ: การนอนหลับในโรงพยาบาล ปัจจัยที่รบกวน  การจัดการโดยไม่ใช้ยา

Abstract
Sleep is important for hospitalized patients. However, it is found that these persons have low quality of sleep because of there are many sleep disturbing factors. These factors can be divided into internal factors and external factors. The internal factors are composed of illness, drug’s side effects and psychological stress. For external factors, hospital   environment including noise, light, temperature and nursing interventions can disturb sleep. Management of sleep disturbance is composed of pharmacological managements and non-pharmacological managements. Non pharmacological managements include sleep hygiene, relaxation, massage, music therapy, natural sound and vision, acupoints and aromatherapy. Some of these methods may not show a significant effect on sleep or have only few studies which cannot draw to conclusion of theirs effectiveness.   However, these methods are safe and can be applied for promoing sleep quality among hospitalized patients.
Key words: Sleep in the Hospitals, Disturbed Factors, Non-pharmacological Managements

Downloads

How to Cite

ชัยอาจ จ. (2014). ปัจจัยที่รบกวนการนอนหลับในโรงพยาบาล: การจัดการโดยไม่ใช้ยา. Nursing Journal CMU, 40(6), 105–115. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/19088