ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้น

Authors

  • วีนา วงษ์งาม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จ.เชียงราย
  • กนกพร สุคำวัง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ภารดี นานาศิลป์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้, พฤติกรรมการดูแลตนเอง, กระดูกสะโพกหัก, ระยะพักฟื้น

Abstract

การดูแลผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้นอย่างเหมาะสม จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีการฟื้นฟูสภาพ
ได้ใกล้เคียงกับปกติ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้ การดูแลโดยใช้การพยาบาลแบบสนับสนุนและให้
ความรู้ จะช่วยให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติตัว และพัฒนาความสามารถในการ
ดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลแบบ
สนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้น กลุ่ม
ตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการผ่าตัด ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์สามัญ
และหอผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์พิเศษ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือน
ตุลาคม พ.ศ. 2555 จำนวน 28 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็น
กล่มุ ควบคมุ และกล่มุ ทดลองกล่มุ ละ 14 คน โดยทั้งสองกล่มุ มคี วามคล้ายคลึงกนั ในเรื่องเพศ สถานภาพ
สมรส ระดับการศึกษาและช่วงอายุ ผู้สูงอายุ 14 คนแรกถูกจัดอยู่ในกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับการพยาบาล
ตามปกติ และผู้สูงอายุอีก 14 คนถัดมาถูกจัดอยู่ในกลุ่มทดลอง ซึ่งได้รับการพยาบาลตามปกติร่วมกับ
การพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล
ส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้น เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ และคู่มือการดูแลตนเองสำหรับ
ผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้น วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบ
สมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที (t-test)

ผลการวิจัยพบว่า
1. ผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้นภายหลังได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความ
รู้มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
2. ผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้นในกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความ
รู้มีคะแนนพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ 0.001
ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ช่วยทำให้ผู้สูงอายุกระดูก
สะโพกหักระยะพักฟื้นมีพฤติกรรมในการดูแลตนเองที่ดีขึ้น จึงควรส่งเสริมให้มีการนำการพยาบาลแบบ
สนับสนุนและให้ความรู้ไปใช้เป็นกลวิธีหนึ่งในการปฏิบัติการพยาบาลเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุกระดูกสะโพก
หักระยะพักฟื้นมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้นต่อไป

Downloads

How to Cite

วงษ์งาม ว., สุคำวัง ก., & นานาศิลป์ ภ. (2015). ผลของการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักระยะพักฟื้น. Nursing Journal CMU, 41(2), 72–82. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/31737