ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

Authors

  • อาภัสรา เอี่ยมสำอางค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังไก่เถื่อน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท
  • มยุรี นิรัตธราดร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ปรีย์กมล รัชนกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น, การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา

Abstract

การตั้งครรภ์ถือเป็นภาวะวิกฤตของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น เมื่อมีการตั้งครรภ์เกิดขึ้นวัยรุ่นต้องเปลี่ยน
บทบาทมาเป็นมารดาอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบตามมาทั้งต่อตัวหญิงตั้งครรภ์เองและทารกใน
ครรภ์ การส่งเสริมให้หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นมีความเชื่อมั่นในตนเองจึงมีสำคัญที่จะช่วยให้หญิงตั้งครรภ์
วัยรุ่นสามารถปฏิบัติบทบาทมารดาได้สำเร็จ การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ศึกษาผลของโปรแกรมสง่ เสริมการรับร้สู มรรถนะแห่งตนต่อการความสำ เร็จในการดำรงบทบาทมารดา
ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม
กลุ่มละ 30 คน ซึ่งคัดเลือกหญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 20 ปี ครรภ์แรก อายุครรภ์อยู่ในช่วง 32 ถึง 38
สัปดาห์จากทะเบียน ที่มารับตรวจตามนัดที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลหันคา ช่วงเดือนมีนาคม ถึง
สิงหาคม 2555 กลมุ่ ควบคุมจะไดร้ บั การพยาบาลตามปกติและกล่มุ ทดลองไดรั้บโปรแกรมสง่ เสริมการ
รับรู้สมรรถนะแห่งตนที่พัฒนามาจากแนวคิดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา เก็บรวบรวมข้อมูล
โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติบทบาทมารดาของ
หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น และแบบสอบถามความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา โดยผ่านการตรวจสอบ
ความตรง ตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของ
ครอนบาคได้ 0.85 และ 0.87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และเปรียบเทียบค่า
เฉลี่ยคะแนนความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในระยะ 48 ชั่วโมงและระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด
ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยสถิติที

ผลการวิจัย พบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น
ในกลุ่มทดลองมีคะแนนความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาในระยะ 48 ชั่วโมงและระยะ 6 สัปดาห์
หลังคลอด สูงกว่าหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05 และ p<0.001
ตามลำดับ) และหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในกลุ่มทดลองมีความแตกต่างของคะแนนความสำเร็จในการดำรง
บทบาทมารดาในระยะ 48 ชั่วโมงและระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001)
จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลแผนกฝากครรภ์ควรนำโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้
สมรรถนะแห่งตนมาใช้ส่งเสริมความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น

Downloads

How to Cite

เอี่ยมสำอางค์ อ., นิรัตธราดร ม., & รัชนกุล ป. (2015). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. Nursing Journal CMU, 41(3), 48–59. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/31757