การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรีหลังคลอด

Authors

  • ศิลปชัย ฝั้นพะยอม คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • กรรณิการ์ กันธะรักษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฉวี เบาทรวง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

อาการเหนื่อยล้าในระยะหลังคลอด, การจัดการอาการเหนื่อยล้า, การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

Abstract

การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสถานการณ์ในระยะหลังคลอดเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิด
อาการเหนื่อยล้าในสตรีหลังคลอด อาการเหนื่อยล้าส่งผลกระทบทั้งต่อสตรีหลังคลอด ทารก และ
ครอบครัว ดังนั้นสตรีจึงต้องการการจัดการที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันหรือลดอาการเหนื่อยล้า การ
ทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสรุปวิธีการจัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรี
หลังคลอด จากรายงานการวิจัยปฐมภูมิตั้งแต่ปีพ.ศ. 2535 ถึง 2555 โดยใช้แนวทางการทบทวน
วรรณกรรมอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (JBI, 2011) พบงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการ
จัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรีหลังคลอด ทั้งหมด 17 เรื่อง งานวิจัยจำนวน 2 เรื่องถูกคัดออก เนื่องจาก
ไม่สามารถเข้าถึงรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ งานวิจัยจำนวน 15 เรื่องผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตาม
คุณสมบัติที่กำหนด ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงทดลองจำนวน 4 เรื่อง และแบบกึ่งทดลอง จำนวน 11 เรื่อง
แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เมต้าได้ ดังนั้นจึงใช้วิธีการสรุปแบบบรรยายเชิงเนื้อหา
วิธีการจัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรีหลังคลอดที่พบจากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ
ในครั้งนี้ สามารถจำแนกออกได้เป็น 5 หมวด ได้แก่ การสนับสนุนด้วยการให้ความรู้ การจัดการการเบ่ง
คลอด การออกกำลังกายในระยะหลังคลอด การจัดท่าให้นมบุตร และการดูแลสุขภาพทางเลือก จาก
การสรุปประสิทธิผลของการจัดการอาการเหนื่อยล้าในระยะหลังคลอด พบว่า 1) การให้ความรู้เกี่ยว
อาการและการจัดการอาการเหนื่อยล้าในระยะตั้งครรภ์และหลังคลอด 2) การคลอดด้วยวิธีการเบ่งคลอด
แบบธรรมชาติ 3) การออกกำลังกายระดับเบาในระยะหลังคลอด และ 4) การให้นมบุตรด้วยท่านอน
ตะแคงในระยะแรกหลังคลอด มีผลในการลดอาการเหนื่อยล้าในระยะหลังคลอดอย่างชัดเจนโดยมี
หลักฐานการวิจัยที่น่าเชื่อถือสนับสนุนเพียงพอ

จากผลการศึกษาครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า การให้ข้อมูลเกี่ยวอาการและการจัดการอาการ
เหนื่อยล้าควรเริ่มให้ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ คลอด และหลังคลอด รวมถึงการให้ข้อมูลและช่วยเหลือให้สตรี
หลังคลอดสามารถให้บุตรด้วยท่านอนตะแคง และออกกำลังกายระดับเบาในระยะหลังคลอดได้ นอกจาก
นั้นควรสนับสนุนให้ผู้คลอดได้เบ่งตามธรรมชาติ และควรมีการวิจัยเชิงทดลองเกี่ยวกับการจัดการอาการเหนื่อย
ล้าเพิ่มเติมหรือทำวิจัยซ้ำ เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือในการจัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรีหลังคลอดตลอดจน
นำข้อมูลมาวิเคราะห์เมต้า

Downloads

How to Cite

ฝั้นพะยอม ศ., กันธะรักษา ก., & เบาทรวง ฉ. (2015). การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการจัดการอาการเหนื่อยล้าในสตรีหลังคลอด. Nursing Journal CMU, 41(3), 60–69. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/31758