ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • มะลิสา งามศรี คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • นิตยา ตากวิริยะนันท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ศุภรา เชาว์ปรีชา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

การบำบัดความคิดและพฤติกรรม, ภาวะซึมเศร้า, วัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและยาวชน

Abstract

          ภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นที่กระทำผิดในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน อาจเกิดจากความคิดทางลบ การขาดทักษะทางสังคมและการขาดทักษะการแก้ปัญหา การช่วยเหลือเพื่อลดภาวะซึมเศร้าเป็นสิ่งสำคัญ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นไทยที่กระทำผิด กลุ่มตัวอย่างที่มีภาวะซึมเศร้าในระดับปานกลาง 60 ราย 2 แห่งในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองจำนวน 30 ราย ได้รับโปรแกรมจำนวน 8 สัปดาห์ ร่วมกับการดูแลตามปกติของศูนย์ฝึกฯ ส่วนกลุ่มควบคุมจำนวน 30 ราย ได้รับสุขภาพจิตศึกษารายกลุ่ม 1 ครั้ง ร่วมกับการให้การปรึกษารายบุคคลตามคำขอ และการดูแลตามปกติของศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน การประเมินผลกระทำโดยใช้แบบสอบถามปัญหาสุขภาพเพื่อประเมินภาวะซึมเศร้าในประชากรไทย โดยวัด 3 ครั้ง คือ ก่อนเริ่มโปรแกรม หลังโปรแกรมสิ้นสุดทันที และหลังโปรแกรมสิ้นสุด 4 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ

          ผลการศึกษาพบว่าคะแนนเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสิ้นสุดทันทีและหลังการทดลองสิ้นสุด 4 สัปดาห์ ต่ำกว่าก่อนการทดลองและต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01)

          ผลการศึกษานี้สนับสนุนการใช้โปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมเพื่อลดภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชน และการขยายผลเพื่อศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดใหญ่ต่อไป

Downloads

Published

2014-12-31

How to Cite

งามศรี ม., ตากวิริยะนันท์ น., & เชาว์ปรีชา ศ. (2014). ผลของโปรแกรมการบำบัดความคิดและพฤติกรรมต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นในศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. Nursing Journal CMU, 41(4), 36–47. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/32650