ผลของโปรแกรมการดูและระยะเปลี่ยนผ่านต่อพฤติกรรมสุขภาพและความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน

Authors

  • สุดคะนึง ดารานิษร คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • พิกุล บุญช่วง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • นิตยา ภิญโญคำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

โปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน, พฤติกรรมสุขภาพ, ความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย, ผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน

Abstract

         กลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันเป็นความเจ็บป่วยที่ซับซ้อนนำไปสู่ความพิการและการเสียชีวิตในอัตราสูง ผู้ป่วยต้องเผชิญกับการเปลี่ยนผ่านความเจ็บป่วยและสถานที่ของการดูแลหลายระยะอยู่เสมอเนื่องจากสภาวะของความเจ็บป่วย การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านต่อพฤติกรรมสุขภาพและความสามารถในการทำหน้าที่ของร่ายกายของผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันที่เข้ารับการักษาในหออภิบาลผู้ป่วยอายุรกรรมโรคหัวใจ และหอผู้ป่วยอายุรกรรมโรคหัวใจ วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาลตั้งแต่เดือนมีนาคม 2553 ถึงเดือนพฤษภาคม 2554 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 36 รายแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 18 ราย กลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามโรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่าน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านในกลุ่มผู้ป่วยอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน และเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ และ 3) แบบประเมินความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที (t-test)

 

ผลการวิจัย พบว่า

 

         1. คะแนนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันนั้นหลังได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)

         2. คะแนนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001)

         3. คะแนนความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันหลังได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านสูงกว่าก่อนได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่าน (p <0.001)

          4. คะแนนความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายของผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามโปรแกรมการดูแลในระยะเปลี่ยนผ่านสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (p < 0.001)

         ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงโปรแกรมการดูแลระยะเปลี่ยนผ่านสามารถส่าเสริมผู้ป่วยกลุ่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลันมีพฤติกรรมสุขภาพและความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายดีขึ้น จึงควรนำไปใช้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยกุล่มอาการโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน

Downloads

Published

2013-06-30

How to Cite

ดารานิษร ส., บุญช่วง พ., & ภิญโญคำ น. (2013). ผลของโปรแกรมการดูและระยะเปลี่ยนผ่านต่อพฤติกรรมสุขภาพและความสามารถในการทำหน้าที่ของร่างกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจเฉียบพลัน. Nursing Journal CMU, 40(2), 103–113. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/33063