ผลของการรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่าน ต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ

Authors

  • กัตติกา ธนะขว้าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • จันตนา รัตนวิฑูรย์ โรงพยาบาลปัว

Keywords:

การออกกำลังกายโดยใช้การฟ้อนรำ, สมรรถภาพทางกาย, คุณภาพชีวิต, ผู้สูงอายุหญิง

Abstract

          การออกกำลังกายที่ใช้การฟ้อนรำเป็นฐานได้รับการยอมรับว่าเป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งที่เหมะกับผู้สูงอายุ เนื่องจากเป็นการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ใช้แรงกระแทกต่ำ ที่มีการเคลื่อนไหวตามจังหวะดนตรีและท่ารำ การศึกษาเชิงทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่านซึ่งเป็นการฟ้อนพื้นบ้านล้านนาประยุกต์กับการออกกำลังกายด้วยไม้พลอง ต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 48 ราย เป็นผู้หญิงสูงอายุที่อาศัยอยู่ในตำบลวรนคร อำเภอปัว จังหวัดน่าน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม ทำการสุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยให้มีความคล้ายคลึงกันในด้าน อายุ ดัชนีมวลกาย ความทนทานของปอดและหัวใจ และความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ กลุ่มทดลองจำนวน 24 รายมีการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่าน สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมจำนวน 24 รายมีการออกกำลังกายตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมรรถภาพทางกาย 2 ประเภท ได้แก่ ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ และความทนทานของปอดและหัวใจ และแบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติทดสอบค่าที

 

ผลการวิจัย พบว่า

          ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ และความทนทานของปอดและหัวใจในผู้สูงอายุหญิงกลุ่มที่มีการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่านมากกว่าผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่าคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ด้านสุขภาพทั่วไป ความปวดทางกาย ความมีพลัง และสุขภาพจิต ของผู้สูงอายุหญิงกลุ่มที่มีการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่าน ดีกว่าผู้สูงอายุกลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

          ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าการออกกำลังกายแบบรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่าน สามารถส่งเสริมให้ผู้สูงอายุหญิงมีสมรรถภาพทางกาย และคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในบางด้านดีขึ้น ดังนั้นการประยุกต์ใช้การฟ้อนรำพื้นบ้านโดยพัฒนาให้เป็นโปรแกรมการออกกำลังกาย อาจเป็นทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุหญิง

Downloads

Published

2013-06-30

How to Cite

ธนะขว้าง ก., & รัตนวิฑูรย์ จ. (2013). ผลของการรำไม้พลองมองเซิงเมืองน่าน ต่อสมรรถภาพทางกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุหญิงที่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำ. Nursing Journal CMU, 40(2), 148–161. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/33071