ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ของเด็กวัยรุ่นกลุ่มอาการเนฟโฟรติก

Authors

  • สมรัตน์ แดงสกุล โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
  • สุธิศา ล่ามช้าง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศรีพรรณ กันธวัง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

เด็กวัยรุ่นกลุ่มอาการเนฟโฟรติก, พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, สมรรถนะแห่งตน ประโยชน์ของการปฏิบัติ, อิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อนในการปฏิบัติพฤติกรรม

Abstract

                การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงทำนายเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กวัยรุ่นกลุ่มอาการเนฟโฟรติก  กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กวัยรุ่นกลุ่มอาการเนฟโฟรติกอายุระหว่าง 10-15 ปี ที่เข้ารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลตติยภูมิ ที่มีคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 88 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล  แบบสอบถามพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร แบบสอบถามสมรรถนะแห่งตนในการปฏิบัติ  แบบสอบถามประโยชน์ของการปฏิบัติ  และแบบสอบถามอิทธิพลของครอบครัวและกลุ่มเพื่อนในการปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

                ผลการวิจัยพบว่า

                กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งเป็นเพศชาย (ร้อยละ  56.81) มีอายุอยู่ระหว่าง 11 -15 ปี (ร้อยละ 73.86) กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษา (ร้อยละ 52.27)  มีลักษณะครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ 64.77) มีรายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือนมากกว่า 5,000 - 10,000 บาท (ร้อยละ 46.59) และร้อยละ 96.59 มีเพื่อนสนิท รับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน (ร้อยละ89.77)ส่วนใหญ่รับประทานอาหารที่บ้าน (ร้อยละ 95.45) อาหารที่รับประทานในโรงเรียนเป็นประเภทอาหารจานเดียว (ร้อยละ72.72) กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยรวมในระดับสูง (x̄ = 42.99, S.D. =  5.306) โดยพบว่า ด้านการเลือกชนิดอาหาร และด้านการหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่ควรรับประทานอยู่ในระดับสูงด้านการรับประทานอาหารที่เหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า อิทธิพลของครอบครัว และกลุ่มเพื่อนในการปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหาร  สามารถทำนายการปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กวัยรุ่นกลุ่มอาการเนฟโฟรติกได้ร้อยละ 23.40 (R2= 0.234, p<0.001) ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงถึงกลุ่มเพื่อนมีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารในเด็กวัยรุ่นกลุ่มอาการเนฟโฟรติก ซึ่งพยาบาลและบุคลากรทีมสุขภาพสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กวัยรุ่นกลุ่มอาการเนฟโฟรติก เพื่อหาแนวทางหรือวิธีการส่งเสริมโดยการมุ่งเน้นให้กลุ่มเพื่อนมีส่วนในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กวัยรุ่นในกลุ่มนี้

Downloads

Published

2015-06-30

How to Cite

แดงสกุล ส., ล่ามช้าง ส., & กันธวัง ศ. (2015). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหาร ของเด็กวัยรุ่นกลุ่มอาการเนฟโฟรติก. Nursing Journal CMU, 42(2), 62–71. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/39420