การเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเลี้ยงยากวัยเตาะแตะ

Authors

  • พนิดา ศิริอำพันธ์กุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร
  • จินตนา วัชรสินธุ์ คณะพยาบาลศาสตตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สุภาภรณ์ ด้วงแพง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Keywords:

การเป็นพ่อแม่, เด็กเลี้ยงยาก, วัยเตาะแตะ, วิจัยเชิงปรากฏการณ์วิทยา

Abstract

                 เด็กเลี้ยงยากเป็นสาเหตุทำให้ครอบครัวมีเกิดความยุ่งยากในการดูแลและเลี้ยงดูบุตร เกิดการเปลี่ยนแปลงในครอบครัวพ่อแม่ต้องมีการปรับตัวอย่างมากจากการเกิดภาวะวิกฤตในครอบครัว  การดูแลช่วยเหลือครอบครัวเหล่านี้มีจำเป็นที่ต้องเข้าใจความยุ่งยากในบริบทของครอบครัว   การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายความหมายการเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเลี้ยงยากวัยเตาะแตะ  ผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเลี้ยงยากอายุ 1-3 ปี  เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ใช้ระเบียบวิจัยปรากฏการณ์วิทยาเชิงตีความ และการวิเคราะห์ตีความโดยประยุกต์  แนวทางของแวนมาแนน (Van Manen,  1997)  ข้อมูลอิ่มตัวที่จำนวน  20 ครอบครัว

                  ผลการวิจัยพบว่า

                 พ่อแม่ต้องเผชิญกับอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อลูกเลี้ยงยากและปรับตัวในการเป็นพ่อและแม่มีแก่นสาระสำคัญคือ 1)“เสียงแห่งความขัดแย้ง”  2) “หนึ่งชีวิตที่ต้องคอยห่วงคอยติดตาม”  3) “เลี้ยงยากอย่างไรก็ลูกเรา”  4) “การเผชิญกับบุคคลรอบข้าง” และ 5) “การพัฒนาเติบโตเป็นผู้ใหญ่”  ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเลี้ยงยาก มีความยากลำบากในการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกมีสภาวะความเครียดและกังวลสูง  การปรับตัวในการเลี้ยงลูกและการดูแลครอบครัวและสัมพันธภาพระหว่างพ่อและแม่  ดังนั้นความเข้าใจประสบการณ์เหล่านี้จะสามารถช่วยเหลือครอบครัวที่มีลูกเลี้ยงยากได้

Downloads

Published

2015-06-30

How to Cite

ศิริอำพันธ์กุล พ., วัชรสินธุ์ จ., & ด้วงแพง ส. (2015). การเป็นพ่อแม่ที่มีลูกเลี้ยงยากวัยเตาะแตะ. Nursing Journal CMU, 42(2), 72–82. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/39426