ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการให้สุขศึกษามารดาเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารก

Authors

  • เกสรา ศรีพิชญาการ
  • พรรณพิไล ศรีอาภรณ์
  • ปิยะนุช ชูโต

Keywords:

การให้สุขศึกษามารดาหลังคลอด, การส่งเสริมพัฒนาการของทารก, นักศึกษาพยาบาล

Abstract

          ในการสอนนักศึกษาเกี่ยวกับการให้สุขศึกษามารดานั้น มักจะไม่เน้นเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการของทารก การวิจัยนี้มุ่งสำรวจผลการเรียนรู้ภาคปฏิบัติในการให้สุขศึกษาแก่มารดาหลังคลอดและความคิดเห็นของนักศึกษาเพื่อนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน ผู้เข้าร่วมวิจัยเป็นนักศึกษาพยาบาลระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จำนวน 71 คน รวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัด แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่ม จากการประเมินความรู้ด้วยแบบวัดแบบเขียนคำตอบ และแบบถูกผิด (r=.79) พบว่าภายหลังฝึกปฏิบัติมีคะแนนเพิ่มขึ้น (p=.000) อย่างไรก็ตาม คะแนนจากแบบวัดแบบเขียนคำตอบมีเพียง 28.00/100.00 คะแนน จากการประเมินผลด้านการปฏิบัติด้วยตนเอง (r=.90) พบว่ามีคะแนนเฉลี่ย 57.28/100.00 และสัมพันธ์กับคะแนนความรู้ที่วัดด้วยแบบวัดเขียนตอบ (r=.425, p=.000) ค่าเฉลี่ยการจัดการเรียนการสอนตามการรับรู้ของนักศึกษา (r=.70) เท่ากับ 84.95/100.00 ส่วนใหญ่แล้วมีความรู้และทักษะในการกระตุ้นพัฒนาการในลักษณะกว้างๆ เช่น อุ้ม สัมผัส พูดคุย สบตา แต่ขาดความลึกซึ้ง และไม่เฉพาะเจาะจงกับทารกวัย 0-1 และ 1-2 เดือน ทั้งนี้ส่วนหนึ่งเนื่องจากในขั้นตอนการปฐมนิเทศมีเนื้อหาหรือการสาธิตให้น้อยมาก รวมทั้งไม่มีการมอบหมายงานให้ชัดเจน ข้อเสนอแนะ คือ ควรมีการกำหนดให้เป็นหัวข้อหนึ่งของการให้สุขศึกษามารดา ในการสอนนักศึกษา เนื้อหาควรมีรายละเอียดลึกซึ้ง มีการสาธิตโดยมีเอกสารและสื่อประกอบ รวมทั้งปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่นักศึกษา

Downloads

Published

2015-11-30

How to Cite

ศรีพิชญาการ เ., ศรีอาภรณ์ พ., & ชูโต ป. (2015). ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาลในการให้สุขศึกษามารดาเกี่ยวกับการส่งเสริมพัฒนาการของทารก. Nursing Journal CMU, 42, 116–128. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57270