การรับรู้ประสบการณ์การคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด

Authors

  • ปาริฉัตร แซ่ลิ้ว
  • กรรณิการ์ กันธะรักษา
  • นงลักษณ์ เฉลิมสุข

Keywords:

การรับรู้ประสบการณ์การคลอด, การสนับสนุนทางสังคม, ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา, มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด, การผ่าตัดคลอดฉุกเฉิน

Abstract

         ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดามีความสำคัญอย่างมากต่อภาวะสุขภาพและความปลอดภัยในชีวิตของทารก โดยเฉพาะในมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดซึ่งผ่านประสบการณ์การคลอด แตกต่างจากมารดาทั่วไป ทั้งนี้ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ประสบการณ์การคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังการผ่าตัดคลอดแบบฉุกเฉิน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 85 ราย ที่มารับบริการ ตรวจสุขภาพภายหลังคลอด 4 ถึง 6 สัปดาห์ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพเชียงใหม่ โรงพยาบาลลำพูน และโรงพยาบาลสันป่าตอง ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึง เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด ที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากแบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของสุกัญญา ปริสัญญกุล ฉวี เบาทรวง และ ปิยะภรณ์ ประสิทธิ์วัฒนเสรี (2556) แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคมของมารดา หลังคลอด ที่สร้างขึ้นโดยนลินี สิทธิบุญมา กรรณิการ์ กันธะรักษา และ บังอร ศุภวิทิตพัฒนา (2557) และ แบบประเมิน ความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดา (MRAS-Form B) ที่สร้างขึ้นโดยศรีสมร ภูมนสกุล อรพรรณ สมบูรณ์ทรัพย์ และอุษา ศิริวัฒนโชค (2547) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรที่ศึกษา โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า

          1. มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดมีการรับรู้ประสบการณ์เกี่ยวกับการคลอดทางบวก ร้อยละ 52.94 และ มีประสบการณ์เกี่ยวกับการคลอดทางลบ ร้อยละ 47.06

          2. มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 88.24 และได้รับ การสนับสนุนทางสังคมในระดับปานกลาง ร้อยละ 11.76

          3. มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดมีความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 47.06 และมีความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 52.94

          4. การรับรู้ประสบการณ์การคลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับความสำเร็จในการดำรงบทบาท มารดาของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .214, p<.05) และการสนับสนุนทาง สังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาที่ได้รับการ ผ่าตัดคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .393, p<.01)

Downloads

Published

2015-12-31

How to Cite

แซ่ลิ้ว ป., กันธะรักษา ก., & เฉลิมสุข น. (2015). การรับรู้ประสบการณ์การคลอด การสนับสนุนทางสังคม และความสำเร็จในการดำรงบทบาทมารดาของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด. Nursing Journal CMU, 42, 69–81. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/57302