การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกสำหรับโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่

Authors

  • อัชฌา วารีย์ พยาบาลวิชาชีพ
  • อารีวรรณ กลั่นกลิ่น รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อรอนงค์ วิชัยคำ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

ระบบบริการ, แผนกผู้ป่วยนอก, โรคเบาหวาน, Service System, Outpatient Department, Diabetes Mellitus

Abstract

บทคัดย่อ

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในประชากรไทย การพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้ตอบสนองกับปัญหา และความต้องการของผู้ใช้บริการจึงเป็นเรื่องสำคัญ การวิจัยเชิงพัฒนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาล สารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีวิเคราะห์โครงสร้างเชิงตรรกะ (Logical Framework Analysis) เพื่อเปรียบเทียบระยะเวลารอคอยของผู้ใช้บริการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการก่อนและ หลังการพัฒนา และศึกษาความพึงพอใจ ของผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกโรคเบาหวานก่อน และหลังการพัฒนาระบบ จำนวน 152 และ 191 คนตามลำดับ และผู้ให้บริการจำนวน 12 คน การศึกษาครั้งนี้ใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกระยะเวลารอคอย ของผู้ใช้บริการ และแบบสอบถาม ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการซึ่งผู้วิจัยสร้างจากกรอบแนวคิดของอะเดย์ และแอนเดอเซน (Aday & Andersen, 1975) ได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.97 และ ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ให้บริการที่ผู้วิจัยสร้างตามกรอบ การวิเคราะห์โครงสร้างเชิงตรรกะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติแมนวิทนีย์ยู (Mann-Whitney U test)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ระบบบริการผู้ป่วยนอกสำหรับโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ภายหลังการพัฒนาโดยใช้วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างเชิงตรรกะมีขั้นตอนบริการ ลดจาก 6 ขั้นตอน เหลือ 4 ขั้นตอนดังนี้ รับบัตรคิวและตรวจเลือด คัดกรอง กิจกรรมกลุ่ม และตรวจรักษาโรค

2. ระยะเวลารอคอยของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกสำหรับโรคเบาหวานภาย หลังการพัฒนา ระบบบริการน้อยกว่าก่อนการพัฒนาระบบริการ ระยะเวลา รอคอยต่ำสุดลดลงไป 8 นาทีและเวลาสูงสุด ลดลงไป 66 นาที อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

3. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอกสำหรับโรคเบาหวานภายหลัง การพัฒนาระบบบริการมากกว่า ก่อนการพัฒนาระบบบริการ ก่อนการพัฒนา ระบบบริการอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.24, S.D. = 0.26) หลังการพัฒนา ระบบบริการอยู่ในระดับดีมาก ( = 2.84, S.D. = 0.11) อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติระดับ 0.01

4. ผู้ให้บริการที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาระบบบริการ ผู้ป่วยนอกสำหรับโรคเบาหวาน มีความพึงพอใจต่อการพัฒนาระบบบริการโดยใช้วิธีการวิเคราะห์โครงสร้างเชิง ตรรกะ

ผลของการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และปรับปรุงระบบ บริการแผนก ผู้ป่วยนอกและหน่วยงานที่ให้บริการอื่นๆ เพื่อลดระยะเวลารอคอยและเพิ่ม ความพึงพอใจในระบบบริการสุขภาพ

คำสำคัญ: ระบบบริการ แผนกผู้ป่วยนอก โรคเบาหวาน

 

Abstract

Diabetes Mellitus is a chronic illness commonly found in Thai population. Developing a health service system which responds to the problems and demands of patients is very important. This developmental research aimed to develop an outpatient service system for the diabetes mellitus patients, Sarapee hospital, Chiang Mai province using Logical Framework Analysis; to compare waiting time of patients and patient’s satisfaction before and after developing the service system; and to study satisfaction of service providers participating in the project. Study sample included 152 and 191 patients before and after development of the service system, respectively and 12 service providers. Purposive sampling was used in this study. The research instruments comprised the Waiting Time Recording Form and the Patients Satisfaction Questionnaire developed by the researcher based on the conceptual framework of Aday & Anderson (1975). Content validity index of the questionnaire was .97 and reliability was 0.92. The Providers Satisfaction Questionnaire was developed by the researcher based on the concept of Logical Framework Analysis. Data were analyzed using descriptive statistics and content analysis.

The results of study

1. The outpatient service system for diabetes mellitus, Sarapee hospital, Chiang Mai province after the development using Logical Framework Analysis decreased from 6 to 4 steps including queuing and blood testing, screening, group activities, and investigation.

2. Waiting time of patients after developing the outpatient service system for diabetes mellitus was less than before development. The minimum waiting time reduced for 8 minutes and the maximum waiting time reduced for 66 minutes at the signifi cant level of 0.01.

3. Patients satisfaction after developing the outpatient service system for diabetes mellitus was higher than before development. The level before developing the outpatient service system was moderate ( = 2.24, S.D. = 0.26) and the level after developing the outpatient service system was excellent ( = 2.84, S.D. = 0.11) at the signifi cant level of 0.01.

4. All service providers participating in the development of the service system project were satisfi ed with the development of the service system by using Logical Framework Analysis.

The results of this study can be used as a guideline to develop and improve services of an Outpatient Department and other units in order to decrease waiting time and increase client satisfaction of a health service system.

Key words: Service System, Outpatient Department, Diabetes Mellitus

Downloads

How to Cite

วารีย์ อ., กลั่นกลิ่น อ., & วิชัยคำ อ. (2013). การพัฒนาระบบบริการผู้ป่วยนอกสำหรับโรคเบาหวาน โรงพยาบาลสารภี จังหวัดเชียงใหม่. Nursing Journal CMU, 39(1), 105–117. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/7422