การปฏิบัติของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแล เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด

Authors

  • ดลก์พร มาตยาบุญ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
  • พิมพาภรณ์ กลั่นกลิ่น คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มาลี เอื้ออำานวย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารก, ทารกเกิดก่อนกำหนด, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

Abstract

     พัฒนาการของระบบต่างๆโดยเฉพาะระบบประสาทส่วนกลางของทารกเกิดก่อนกำหนดยังไม่สมบูรณ์ การถูกกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด ส่งผลกระทบต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของทารกเกิดก่อนกำหนด การปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดสามารถลดผลกระทบดังกล่าว การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปฏิบัติของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ประชากรในการศึกษาเป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 148 คน ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตภาคเหนือ จำนวน 7 แห่ง รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2557
เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ (1) แบบสอบถามการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด (2) แบบสอบถามปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ประกอบด้วย ความรู้ความคิดเห็นของพยาบาลต่อการปฏิบัติการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด และนโยบาย แนวปฏิบัติและการสนับสนุนของผู้บริหารใน
การส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน
     ผลการวิจัยพบว่าพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดเท่ากับ 3.08 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4 คะแนน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด มีดังนี้
     1. ปัจจัยด้านพยาบาล พบว่า ความรู้ การอบรม และการเข้าร่วมประชุมวิชาการที่เกี่ยวข้องและความคิดเห็นของพยาบาลเกี่ยวกับการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการ (ρ = .219, ρ = .260, ρ= .364 , p< .01)
     2. ปัจจัยด้านองค์กร พบว่า นโยบาย แนวปฏิบัติและการสนับสนุนของผู้บริหารในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติของพยาบาลในการดูแลเพื่อส่งเสริม พัฒนาการ (ρ = .387, ρ = .253, ρ = .337, p< .01) 

     ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งสามารถนำไปใช้ส่งเสริมการปฏิบัติการดูแลเพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนดของพยาบาลต่อไป

Downloads

Published

2016-12-31

How to Cite

มาตยาบุญ ด., กลั่นกลิ่น พ., & เอื้ออำานวย ม. (2016). การปฏิบัติของพยาบาลและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในการดูแล เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทารกเกิดก่อนกำหนด. Nursing Journal CMU, 43(4), 1–11. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/77490