การพัฒนารูปแบบเพื่อการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง

Authors

  • จินดา คูณสมบัติ โรงพยาบาลนครพิงค์ จ.เชียงใหม่
  • ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Keywords:

การส่งเสริมการจัดการความรู้, การจัดการความรู้, ชุมชนนักปฏิบัติ, การพัฒนาชุมชนนักปฏิบัติ

Abstract

การส่งเสริมการจัดการความรู้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การจัดการความรู้ในองค์กรประสบความ
สำเร็จ การวิจัยเชิงพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบเพื่อการส่งเสริมการจัดการความรู้
2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบเพื่อการส่งเสริมการจัดการความรู้ และ 3) เพื่อศึกษา
ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการพัฒนารูปแบบเพื่อการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชน
นักปฏิบัติ ในโรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวดั เชยี งใหม่ กลมุ่ ตัวอย่างประกอบด้วย สมาชิกชุมชนนกั ปฏิบัติ
4 ชุมชน จำนวน 145 คนซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1)
แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แผนการพัฒนารูปแบบส่งเสริมการจัดการความรู้ 3) แบบบันทึก
ภาคสนาม 4) แบบบันทึกการทำงานของชุมชนนักปฏิบัติ 5) แบบบันทึกประสิทธิผลของการพัฒนา
รูปแบบเพื่อการส่งเสริมการจัดการความรู้ และ 6) แนวคำถามในการสัมภาษณ์สมาชิกชุมชนนักปฏิบัติ
ตรวจสอบความครอบคลุม ความชัดเจน และความเหมาะสมของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณจำนวน 5 ท่าน
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบเพื่อการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติในโรงพยาบาลนครพิงค์ ใช้
ครบทั้ง 12 พฤติกรรม
2. ประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบเพื่อการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ
ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวน 14 ครั้ง 2) เอกสารที่รวบรวมจากการแลก
เปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน 16 เรื่อง 3) คู่มือการดูแลแผลจำนวน 1 เล่ม และแนวปฏิบัติสำหรับเตรียมให้
ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัด แนวปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อจากการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และแนวปฏบิ ตั กิ ารระบตุ วั ผ้ปู ่วยจำ นวนอย่างละ 1 เล่ม 4) เรอื่ งเล่าเกยี่ วกบั วธิ ปี ฏบิ ัตทิ ดี่ แี ละงานวจิ ยั จำ นวน
15 เรื่อง 5) รายงานการประชุมของชุนชนนักปฏิบัติจำนวน 9 ครั้ง และ 6) มีการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ใน
การปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย
3. ปัญหาและอุปสรรคของการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติ พบว่านโยบายของ
โรงพยาบาลเกี่ยวกับการสนับสนุนการดำเนินงานของชุนชนนักปฏิบัติยังไม่เป็นที่รับรู้อย่างทั่วถึง สิ่งจูงใจ
และสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไม่เพียงพอ สมาชิกชุนชนนักปฏิบัติไม่มีเวลาในการเข้าร่วมแลก
เปลี่ยนเรียนรู้ สารสนเทศและฐานข้อมูลความรู้ในโรงพยาบาลไม่เพียงพอ และระบบอินเตอร์เน็ตยังไม่
ครอบคลุมทุกพื้นที่ในโรงพยาบาล ส่วนข้อเสนอแนะของการส่งเสริมการจัดการความรู้ ได้แก่ ผ้บู ริหารควร
เผยแพร่นโยบายในการส่งเสริมการจัดการความรู้แก่บุคลากรอย่างทั่วถึง สนับสนุนฐานข้อมูลความรู้ และ
ขยายเครือข่ายอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทั้งโรงพยาบาล
ผ้บู ริหารโรงพยาบาลที่รับผิดชอบการจัดการความรู้ สามารถนำรูปแบบการส่งเสริมการจัดการความ
รู้ไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิผลการจัดการความรู้ในชุมชนนักปฏิบัติหรือหน่วยงานอื่นได้ สมาชิกชุมชน
นักปฏิบัติและบุคลากรในหน่วยงานสามารถนำคู่มือ แนวปฏิบัติ และความรู้ที่เกิดจากการจัดการความรู้
ของชุมชนนักปฏิบัติไปใช้ในการปฏิบัติงาน

Downloads

How to Cite

คูณสมบัติ จ., อัคคะเดชอนันต์ ฐ., & เกียรติเลิศนภา ผ. (2015). การพัฒนารูปแบบเพื่อการส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชนนักปฏิบัติในโรงพยาบาลทั่วไปแห่งหนึ่ง. Nursing Journal CMU, 41(2), 24–34. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/31727