การจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบภาวะยากลำบากโดยองค์กรสาธารณสุข

Authors

  • เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล
  • สุพัตรา ศรีวณิชชากร
  • จุฑาธิป ศีลบุตร
  • กวินารัตน์ สุทธิสุคนธ์

Keywords:

การจัดการดูแล, ผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุที่ประสบภาวะยากลำบาก, องค์กรสาธารณสุข, Care Management, Elderly, Elderly Hardship, Public Health Organization

Abstract

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทองค์กรสาธารณสุขในการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบภาวะยากลำบาก ปัญหาอุปสรรคในการทำงาน และเสนอแนะแนวทางการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบภาวะยากลำบาก เก็บข้อมูลเชิงปริมาณกับผู้สูงอายุ 4,561 ครอบครัว เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพกับบุคลากรสาธารณสุขและผู้สูงอายุ 152 คนใน 10 จังหวัดของไทยช่วงเดือนธันวาคม 2555 ถึงเดือนเมษายน 2556 และนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาตามประเด็นที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาพบว่า องค์กรสาธารณสุขที่มีบทบาทในการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบภาวะยากลำบากมี 2 ระดับ คือ ระดับนโยบายมีสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดำเนินงาน และระดับปฏิบัติมีโรงพยาบาล หน่วยงานบริการปฐมภูมิดำเนินงาน โดยมีบทบาทให้บริการเชิงรับ บริการเชิงรุก สำรวจข้อมูล จัดอบรมให้ความรู้ แจ้งข้อมูลข่าวสาร สงเคราะห์ช่วยเหลือ และบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่าย ปัญหาที่พบคือ อัตรากำลัง ภาระงานและองค์ความรู้ของบุคลากร ขาดการบูรณาการความร่วมมือกับเครือข่าย ทรัพยากรดำเนินงานไม่เพียงพอ และปัญหาความร่วมมือของผู้สูงอายุและชุมชน ดังนั้น จึงเสนอแนะให้กำหนดนโยบายที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติ เน้นบูรณาการภาคีเครือข่ายการทำงานต่างๆ มอบหมายงานและกระจายความรับผิดชอบให้เหมาะสม ตลอดจนสนับสนุนทรัพยากรดำเนินงานต่างๆข้อเสนอแนะ คือ บูรณาการระบบบริการสาธารณสุขที่เอื้ออาทรต่อผู้สูงอายุ จัดสวัสดิการสงเคราะห์อย่างเป็นธรรม พัฒนาศักยภาพครอบครัวหรือจิตอาสาในการดูแล และใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบภาวะยากลำบาก 

This paper aims to study the roles of Public Health Organization related to care management for the elderly hardship including problem analysis and provide recommendations on care management for the elderly hardship in 10 provinces of Thailand. Quantitative data are collected from selected 4,561 elderlies and another 152 by focus group and in-depth interview with public health officers and elderly during December 2012 to April 2013. The data was analyzed using descriptive statistics and content analysis.

The study result shows that the evidence of Public Health Organization on Care Management for the Elderly Hardship can be divided into 2 levels; a policy level which is undertaken by provincial and district public health office, and an implementation level which is undertaken by hospital and primary care unit. The latter plays a role in exploring and supporting the development of primary care-oriented training for community, disseminating information on health education, setting up and coordinating community health networks. The study also found that most of problems are the limitation of manpower, workload and lack of personnels skills and knowledge, collaborative working with other organizations, inputs, and good cooperation from the elderly and communities. Therefore, the recommendations are to draw a clear policy and procedures which will strengthen collaborative networking and support sufficient inputs to enable the workforce to improve their performance that lead to the success of their jobs.

Additional findings recommend the inclusion of integrated health care, accessing fair social security, development of the capacity of family carers or volunteers through a participatory action research to improve care services for the elderly hardship. 


Downloads

Published

2017-09-29

How to Cite

ธรรมอภิพล เ., ศรีวณิชชากร ส., ศีลบุตร จ., & สุทธิสุคนธ์ ก. (2017). การจัดการดูแลผู้สูงอายุที่ประสบภาวะยากลำบากโดยองค์กรสาธารณสุข. Local Administration Journal, 10(3), 159–181. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/100286

Issue

Section

Research Articles