กระบวนการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวตามแนวชายแดนแบบไป-กลับไปปฏิบัติ ศึกษากรณี แรงงานสัญชาติกัมพูชาในประเทศไทย

Authors

  • พิมพ์ลิขิต แก้วหานาม Student of Philosophy Program in Public Administration Faculty of Humanities and Social Sciences ,Khon Kaen University
  • สุกัญญา เอมอิ่มธรรม Faculty of Humanities and Social Sciences, Khon Kaen University

Keywords:

ความร่วมมือ การนำนโยบายไปปฏิบัติ แรงงานต่างด้าว

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอกระบวนการในการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวตามแนวชายแดนแบบไป-กลับไปปฏิบัติในบริบทของประเทศไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจงจำนวน 30 คน ประกอบด้วย สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จัดหางานจังหวัด อุตสาหกรรมจังหวัด ผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ในสองพื้นที่ คือ จังหวัดสระแก้ว และสุรินทร์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อสังเคราะห์หาข้อสรุปเป็นกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ

            จากการสัมภาษณ์เชิงลึกพบว่า กระบวนการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวแบบไป-กลับไปปฏิบัติสามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ แรงงานทำงานแบบมีใบอนุญาตทำงาน และแรงงานตามฤดูกาลแบบไม่มีใบอนุญาตทำงาน  ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นที่คำนึงถึงผู้ออกนโยบายและผู้ปฏิบัติตามนโยบายในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้ แรงงานทำงานแบบมีใบอนุญาตทำงาน จะมีขั้นตอนการทำงานตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนด แต่ทั้งนี้ จะมีนายหน้าจัดหางานสัญชาติกัมพูชาเข้ามามีส่วนในกระบวนการปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวด้วย ในขณะที่แรงงานตามฤดูกาลแบบไม่มีใบอนุญาตทำงานมีขั้นตอนเพียงการขออนุญาตเข้าเมืองผ่านจุดผ่อนปรนที่กำหนด  อย่างไรก็ตาม มีหน่วยงานระดับพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการด้วย อาทิ เจ้าหน้าที่เทศบาล กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อีกทั้งมีหน่วยงานทหารเข้ามาช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในจุดผ่อนปรนด้วย

Additional Files

Published

2018-09-24

How to Cite

แก้วหานาม พ., & เอมอิ่มธรรม ส. (2018). กระบวนการนำนโยบายแรงงานต่างด้าวตามแนวชายแดนแบบไป-กลับไปปฏิบัติ ศึกษากรณี แรงงานสัญชาติกัมพูชาในประเทศไทย. Local Administration Journal, 11(3), 165–184. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/colakkujournals/article/view/147061