“การพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศไทย-ลาว กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานีกับแขวงจำปาสัก สปป.ลาว”

Main Article Content

Pimontipa Malahom

บทคัดย่อ

ความเป็นมา


           ปัจจุบันมีแรงงานข้ามชาติอพยพเข้ามาพักอยู่ในประเทศไทยจำนวนมาก และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นทุกปี ประกอบด้วย แรงงาน 3 สัญชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีได้แก่ สัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา ปี 2014 พบว่ามีแรงงานในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี 11,035 ราย เข้าเมืองอย่างถูกกฎหมาย 10,985 ราย ทั่วไป 1,036 ราย พิสูจน์สัญชาติ 3,046 ราย จำแนก
ได้ดังนี้ สัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา จำนวน 1,732 1,666 และ 53 ราย ตามลำดับ ระบบการส่งต่อผู้ป่วยนั้นไม่เพียงแต่ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน แต่ยังรวมไปถึงการส่งต่อผู้ป่วยที่เป็นโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปี 2012 สามารถให้บริการผู้ป่วยเอดส์ได้เพียง 2,331 ราย และจำเป็นต้องลดจำนวนลงเพื่อถ่ายโอนข้อมูลเข้าสู่กองทุนประกันสุขภาพ
คนต่างด้าวของกระทรวงสาธารณสุข แต่ยังมีปัญหาในด้านการเข้าถึงบริการจึงมีข้อตกลงในการพัฒนาระบบส่งต่อร่วมกันมุ่งเน้นการพัฒนาการส่งต่อผู้ป่วยทุกระบบ


วัตถุประสงค์


เพื่อวิเคราะห์และประเมินผลเพื่อจัดเตรียมแผนให้มีความพร้อมในการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ และสปป.ลาว และสามารถนำไปพัฒนาและประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์อื่น ๆ


วิธีการศึกษา


  เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยศึกษาย้อนหลังจากข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) ที่ทำการรวบรวมข้อมูลจากการถอดบทเรียนสถานการณ์ การซ้อมแผนเตรียมความพร้อมในการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศ คู่มือ หนังสือ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ในประเด็นบริบทและสถานการณ์การขนส่งผู้ป่วยระหว่างประเทศไทยและ
สปป.ลาว จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2015 แนวทฤษฎี เอกสาร ในการพัฒนาแผนและการประเมินผล


ผลการศึกษา


ผลการศึกษาการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยการพัฒนาแบบจำลองระบบให้เป็นแบบแผนและเข้าใจง่ายและสามารถปฏิบัติงานไปในทางเดียวกัน และทดลองใช้ใน 3 พื้นที่ โดยจัดตั้งเป็นเมืองคู่ขนาน บูรณาการกับงานคุณภาพ
จนได้แนวทาง และคู่มือ และการประสานความร่วมมือในการติดต่อเพื่อส่งต่อข้อมูลโดยใช้ไลน์ หรือแอปพลิเคชั่นเพื่อง่ายและสะดวกในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน


สรุปและข้อเสนอแนะ


  การบริหารจัดการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างประเทศเมืองคู่ขนานกับประเทศเพื่อนบ้านมีการบูรณาการเข้ากับงานประจำ และมีการดึงภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งเปิดโอกาสให้พื้นที่สามารถพัฒนาตนเองและขยายเครือข่าย มีการสร้างทีมงานในรูปแบบเครือข่ายพันธมิตร ใช้ระบบงานสาธารณสุขนำการทูต เพื่อลดความขัดแย้งในการดำเนินงานกับประเทศเพื่อนบ้าน มีการสร้างภาคีเครือข่ายนอกประเทศ รวมทั้งมีการดำเนินงานด้านการติดตาม และประเมินผลไปพร้อมกัน


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ