การใช้นิทานพื้นบ้านของไทย-จีน สร้างแบบฝึกทักษะเพื่อพัฒนาความสามารถด้านการอ่าน จับใจความสำคัญของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง

Main Article Content

Wu Yin
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
สำคัญด้วยนิทานพื้นบ้านไทย-จีน ของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองให้มีประสิทธิภาพตาม
เกณฑ์ 80/80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความสำคัญโดยการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ
สำคัญด้วยนิทานพื้นบ้านของไทย-จีน ของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง และเพื่อศึกษา
ความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษา
ที่สอง ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ นักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้
ในการศึกษาได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่
สอง แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
การอ่านจับใจความสำคัญ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความสำคัญของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่
ค่าเฉลี่ย (µ) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ของ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย โดยภาพรวมมีประสิทธิภาพ 82.62/89.42 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความสำคัญของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ก่อน
ใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 38.30 คิดเป็นร้อยละ 73.60 และค่าเบี่ยงเบน
มาตรฐานเท่ากับ 1.51 และหลังใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 46.70 คิดเป็น
ร้อยละ 89.70 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.20 มีคะแนนก้าวหน้าเท่ากับ 8.42 คิดเป็นร้อยละ 16.19
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญของนักศึกษาจีน ที่
เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากซึ่งมีค่าเฉลี่ย (µ) เท่ากับ 4.09
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) เท่ากับ 0.74

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิรวัฒน์ บุญครอง. (2554). ผลการใช้แบบจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์
ด้านการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน
จับใจความสำคัญ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.นครปฐม.
นภาพร ภู่ทอง. (2546). ผลของการเล่านิทานประกอบสื่อแบบต่าง ๆ ที่มีต่อการสร้างผังความคิดของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เชียงใหม่.
ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต. (2543). การเตรียมความพร้อมด้านลักษณะนิสัย. นนทบุรี:
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พรชุลี อาชวบำรง. (2541). การคิดเชิงเหตุผลเมื่อพิจารณาตัดสินของคนไทย. กรุงเพทฯ: จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
พรทิภา มากมูลดี. (2551). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยใช้แบบฝึกทักษะ
ประกอบการจัดกิจกรรมกลุ่มร่วมมือแบบ STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ศรีวิไล ดอกจันทร์. (2539). การสอนวรรณคดีไทย. เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมสมัย คาร์ลสัน. (2554). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
เทคนิค SO4R ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (การศึกษาค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารครม.
สิริรัตน์ อะโน. (2553). การพัฒนาการอ่านจับใจความสำคัญโดยใช้แบบฝึกการอ่านจับใจความสำคัญ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ราชภัฏมหาสารคาม. มหาสารคาม.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
Krashen, S. and Terrell, T.D. (1983). The natural approach. Oxford: Alemany Press.