การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้ และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต ระหว่างการจัดกิจกรรม การเรียนรู้โดยใช้ GSP และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

Main Article Content

ปรานอม ทศรฐ
นพพร ธนะชัยขันธ์
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้
และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ GSP
และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปี
การศึกษา 2559 โรงเรียนพะเยาพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36 จำนวน
14 ห้องเรียน จำนวน 625 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้องที่ 6
จำนวน 45 คน เป็นกลุ่มทดลอง และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ห้องที่ 7 จำนวน 44 คน เป็นกลุ่มควบคุม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิต
ด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ GSP แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การแปลง
ทางเรขาคณิตด้วยกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและ
แบบวัดเจตคติต่อคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ GSP มีคะแนนเฉลี่ย ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ GSP มีคะแนนเฉลี่ยความคงทนในการเรียนรู้สูงกว่านักเรียน
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่ได้รับการจัด
กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ GSP กับนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติมีเจตคติ ต่อคณิตศาสตร์
แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกมล ไพศาล. (2540). การพัฒนาชุดการสอนรายบุคคลด้านเรขาคณิตสำหรับครูคณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.
ชนาธิป ดวงตาแสง. (2555). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนในการเรียนรู้และ
ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนโดยใช้การเรียนรู้
รูปแบบ 4 MAT กับการเรียนปกติ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
ราชภัฏบุรีรัมย์. สืบค้นจาก ฐานข้อมูลงานวิจัย Thai Digital Collection.
ชมพูนุช ทนงค์. (2553). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นการเชื่อมโยงกับภูมิปัญญา
ท้องถิ่น เรื่อง การแปลงทางเรขาคณิตโดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
สกลนคร.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2556). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อการพัฒนาอาจารย์ของมหาวิทยาลัย
เชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2558, จาก http://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/
unit_fles/fles_download/2014-04-10ทักษะแห่งศตวรรษที่%2021%20เพื่อการพัฒนา
อาจารย์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.pdf
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2549). สถิติการวิจัย ฉบับเสริมการวิเคราะห์ข้อมูลด้วย Microsoft Excel.
เชียงราย: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
_______. (2557). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย Basic statistics for research ฉบับเสริม
การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Excel. เชียงราย: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
โรงเรียนพะเยาพิทยาคม. (2558). สรุปงานวัดและประเมินผลโรงเรียนพะเยาพิทยาคม. พะเยา:
โรงเรียนฯ. (อัดสำเนา).
อมรรัตน์ แสงทอง. (2553). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง
การแปลงทางเรขาคณิตโดยใช้โปรแกรม GSP ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. ฉะเชิงเทรา.
อำนาจ เชื้อบ่อคา. (2547). ผลของการใช้โปรแกรม GSP ประกอบการเรียนการสอนวิชา
คณิตศาสตร์ เรื่อง พาราโบลา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.