ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงินที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

พัฒนา ร่มเย็น

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงินที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการกองคลัง หัวหน้าการเงิน หรือผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน จำนวน 277 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ และการถดถอยแบบพหุคูณ


 ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์ของการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงินที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน พบว่า ตัวแปรทุกตัวมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์ การระบุความเสี่ยง สภาพแวดล้อมภายในองค์กร สารสนเทศและการสื่อสาร กิจกรรมการควบคุม และการประเมินความเสี่ยง ในส่วนของการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ต่อความสำเร็จในการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบนได้จริง มีจำนวน 4 ตัวแปร ได้แก่ การกำหนดวัตถุประสงค์ สารสนเทศและการสื่อสาร กิจกรรมการควบคุม และการประเมินความเสี่ยง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). องค์การบริหารส่วนจังหวัด, สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2562, จาก https://www.dla.go.th/work/abt/province.jsp

กระทรวงมหาดไทย. (2550). คู่มือการบริหารความเสี่ยง พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงฯ.

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

เง็กไน้ แซ่ลี้. (2559). การบริหารความเสี่ยงที่ส่งผลต่อการบริหารงานพัสดุของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. นครปฐม.

จริยา แม้นญาติ. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์กับความสำเร็จในการดำเนินงานของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

เจนเนตร มณีนาค และ คนอื่น ๆ. (2548.) การบริหารจัดการความเสี่ยงระดับองค์กรจากหลักการสู่ภาคปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ไฟนอล การพิมพ์.

ณฐพร พันธ์อุดม และ คนอื่น ๆ. (2549). แนวทางการควบคุมภายในที่ดี. กรุงเทพมหานคร: ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.

นฤมล สอาดโฉม. (2550). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพมหานคร: ฐานการพิมพ์.

นันทิยา อังกุรวัฒนานุกุล. (2557). ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงการปฏิบัติงานในระบบ GFMIS ที่มีผลต่อคุณภาพของงบการเงินของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

นิรภัย จันทร์สวัสดิ์. (2551). คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณนักบริหารกับการกำกับดูแลที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาล.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

เปรมยุดา ท้าวบุตร. (2559). ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานทางการเงินที่มีต่อความสำเร็จในการดำเนินงานทางการเงินของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

พัชรินทร์ ขำวงษ์. (2554). การบริหารความเสี่ยงงานการเงิน บัญชีและพัสดุ ของสถานศึกษาภาครัฐแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

วนันพรณ์ ชื่นพิบูลย์. (2552). ผลกระทบของสภาพแวดล้อมภายในองค์กรที่มีคุณภาพข้อมูลทางการบัญชีและประสิทธิภาพการตัดสินใจของธุรกิจ SMEs ในเขตภาคเหนือ. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

ศิริพร พึ่งพรพรหม. (2557). ผลกระทบของการบริหารความเสี่ยงทางการเงินที่มีต่อประสิทธิภาพองค์กรของธุรกิจส่งออกข้าวหอมมะลิในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.

สิริลักษณ์ เที่ยงธรรม และ คนอื่น ๆ. (2553). การตรวจสอบภายในภาครัฐ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันเพื่อการบริหารและพัฒนา.

อังสนา ศรีประเสริฐ. (2553). การบริหารความเสี่ยงกับงานตรวจสอบภายใน. วารสารวิชาการ, 1(มกราคม-มีนาคม), 151-161.

อุษณา ภัทรมนตรี และ คนอื่น ๆ. (2552). การตรวจสอบภายในสมัยใหม่. กรุงเทพมหานคร: คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Aaker, D. A., Kumar, V. and Day, G. S. (2001). Marketing research. 7th ed. New York: John Wiley and Sons.

Beasley, M. S., Clune, R. and Hermanson, D. S. (2005). Enterprise risk management : An empirical analysis of factors associated with the extent of implementation. Journal of Accounting and Public Policy, 24(6), 521-531.

Lauhlin, Mc. (2013). Operational risk management is critical to bank success. The RMA Journal, 22(7), 56-59.