ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแก้ปัญหานักเรียนออกกลางคันของโรงเรียนวังเหนือวิทยาที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21

Main Article Content

ปฏิภาณ อินทเนตร
ประเวศ เวชชะ
พูนชัย ยาวิราช

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยสถาบัน (Institutional Research) ด้วยกระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และ เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์ การวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนวังเหนือวิทยา เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการตรวจ สอบเอกสาร แหล่งข้อมูลจากเอกสารรายงานจำนวนนักเรียนโรงเรียนวังเหนือวิทยาตั้งแต่ปีการศึกษา 2553 -2556 วิเคราะห์ ข้อมูลเป็นค่าร้อยละอัตราการออกกลางคัน 2. เพื่อศึกษาเหตุและปัจจัยที่ส่งผลต่อการออกลางคันของนักเรียนโรงเรียน วังเหนือ วิทยา เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ แหล่งข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ตัวแทนครูและบุคลากรทางการศึกษา ตัวแทนนักเรียนออก กลางคัน ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนออกกลางคัน วิเคราะห์ข้อมูลเป็นแผนผังแสดงเหตุและผล บรรยายสรุปประเด็นสำคัญ 3. เพื่อ เสนอยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแก้ปัญหานักเรียนออกกลางคันของโรงเรียนวังเหนือวิทยา เครื่องมือที่ใช้คือ แบบบันทึกการ จัดกิจกรรมระดมความคิด(Brainstorming) แหล่งข้อมูลจาก ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานกิจการนักเรียน ครู ที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปจากการระดมความคิด (Brainstorming) เพื่อ เสนอเป็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแก้ปัญหานักเรียนออกกลางคัน

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนวังเหนือวิทยาตั้งแต่ปีการศึกษา 2553-2556 มีนักเรียนออกกลาง คันจำนวน 165 คน จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 7,342คน คิดเป็นร้อยละ 2.25

2. เหตุที่ทำให้นักเรียนออกกลางคัน คือ เหตุที่เกิดจากตัวของผู้เรียน มีประเด็นสำคัญ 3 ประเด็น คือ 1.ปัญหาการเรียน 2.ทักษะชีวิต และ 3.ความยากจน โดยมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการ ออกกลางคันของนักเรียน ได้แก่ 1. ปัจจัยด้านครอบครัว 2.ปัจจัยด้านโรงเรียน 3. ปัจจัยด้านสังคม

3. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแก้ปัญหานักเรียนออกกลางคันของโรงเรียนวังเหนือวิทยา 6 ยุทธศาสตร์ คือ 1. พัฒนา คุณภาพชีวิตและส่งเสริมความถนัดตามความต้องการของนักเรียน 2. สร้างงานและส่งเสริมให้นักเรียนมีรายได้ที่สุจริตระหว่าง เรียน 3. พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนให้เป็นรูปแบบที่มาตรฐาน 4. สร้างความรู้และสร้างความตระหนักให้กับครูและ บุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 5. สร้างเครือข่ายทางสังคมและหน่วยงานภายนอกในการกำกับ ติดตามและช่วยเหลือนักเรียนในด้านต่าง ๆ 6. สร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจที่ดีระหว่างโรงเรียนกับครอบครัว คำสำคัญ ยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการแก้ปัญหา นักเรียนออกกลางคันการศึกษาในศตวรรษที่ 21

 

Strategies for the Administrative Management of Student Drop out problem of Wangnua Wittaya School in accordance with 21st Century Education

This research was an institutional research using Mixed Methods research, Quantitative research and Qualitative research. There were three objectives in this study The first objective was to examine students drop out problem in Wangnua Wittaya School. The instrument used for this objective included: documents examine action form. The data collection resources were documents containing of the total number of students in Wangnua Wittaya School in academic year 2011-2014. The data were then analyzed by percentage The second objective was to examine causes and factors affecting students drop out in Wangnua Wittaya School. The instrument used included : interview topics and interview form data were collected from sampled resources: representative from teachers and educational personel, representatives from drop out student and representatives from parents. The data were analyzed and presented using cause – effect diagram and conclusion of important points. The third objective was to propose the administrative and management strategies to solve students drop out problem of Wangnua Wittaya School. The instrument used for this objective was brainstorming activity plan. The data were collected from school administrators, student affair’s head teacher and student support system’s head teacher. The data were analyzed and proposed as administrator and management strategies for solving student drop-out problem.

The research findings were as follows

1. Students drop out in Wangnua Wittaya School in academic year 2011-2014, were 165 students from the total of 7,342 students (2.25%)

2. The cause of students’ dropout is student factor. The three important drop-out problem reason were: studying problem inappropriate life skill and poverty. The factors affecting students’ dropout were: family factor, school factor, social factor.

3. The proposed administrative and management strategies for solving students drop out problem of Wangnua Wittaya School consisted of six strategies 1. Improving the quality of life and encouraging students depending on individual attitudes and training needs. 2. Improving and increasing student’s ethical income. 3. Development of a student support system. 4. Improving knowledge and developing awareness for teachers and educational personnel about student support system. 5. Improving social networks and outsourcing for monitoring plan and support students in various activities. 6. Improving good relationship and understanding between school and student’s family.

Article Details

Section
Research Articles