การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

Main Article Content

Chen Xiaoxiao
ยุพิน จันทร์เรือง
อัญชลี เท็งตระกูล

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพของ มคอ.3 รายละเอียดรายวิชาและแผนบริหารการสอนการอ่าน ภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL Plus ของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เพื่อเปรียบ เทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย ก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทย เป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย เมื่อจัดการเรียนรู้ใช้เทคนิค KWL Plus พัฒนาทักษะการอ่านประชากรที่ใช้ในการ วิจัย ได้แก่ นักศึกษาชาวจีน สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย ภาคเรียนที่ 2 ชั้นปีที่ 2 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย ซึ่งยังศึกษาอยู่ที่คณะภาษาต่างประเทศ มหาวิทยาลัยยวี่ซี (Yuxi Normal University) ปีการศึกษา 2556 จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย มคอ.3 รายละเอียดของรายวิชา และแผนบริหารการสอนทักษะการอ่าน โดยใช้เทคนิค KWL Plus ของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวน 5 แผน แบบ ทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านภาษาไทย สำหรับนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย เมื่อจัดการเรียนรู้ด้วยการอ่านโดยใช้เทคนิค KWL Plus จำนวน 12 ข้อ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ E1/E2 ร้อยละค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย พบว่า

1. การหาประสิทธิภาพของมคอ.3 รายละเอียดของรายวิชาและแผนบริหารการสอนการอ่าน ภาษาไทยโดยใช้เทคนิค KWL Plus ของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.75/86.40

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการอ่านภาษาไทยของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย ก่อนกับหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL Plus คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนของนักศึกษามีค่าเท่ากับ 14.79 คิดเป็นร้อยละ 49.32 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนมีค่าเท่ากับ 25.92 คิดเป็นร้อยละ 86.40 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนและมี คะแนนพัฒนาการเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 11.13 คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 37.08

3. ความพึงพอใจของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงราย เมื่อจัดการเรียนรู้ใช้ เทคนิค KWL Plus พัฒนาทักษะการอ่าน โดยภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก (μ=4.85, σ=0.07) ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้

 

Development of Thai Reading Skills Using KWL Plus Technique for Chinese Students Learning Thai as a Second Language, Chiang Rai Rajabhat University

The purposes of this study were: 1) to examine the efficiency of TQF3, course description, and instructional plan of teaching reading Thai using KWL Plus technique for Chinese students learning Thai as a second language; 2) to compare learning achievement of Chinese students learning to read Thai before and after an implementation of KWL Plus technique; and 3) to investigate students’ satisfaction towards the instructional plan based on KWL Plus technique in developing reading skills. Population was 39 second-year Chinese students learning Thai as a second language in Thai Language and Culture Program of Chiangrai Rajabhat University while they were still studying at Yuxi Normal University in the academic year B.E. 2556. Research instruments were TQF3, course description, five instructional plans in reading skills using KWL Plus, 30-item achievement test on reading Thai, and 12-item students’ satisfaction assessment form towards the instruction using KWL Plus. Data analysis involved efficiency assessment (E1/E2), percentage, mean, and standard deviation.

The findings showed that:

1. For efficiency investigation of TQF3, course description, and instructional plan of reading Thai using KWL Plus of Chinese students learning Thai as a second language, Chiang Rai Rajabhat University, the efficiency score was 84.75/86.40.

2. For learning achievement of Chinese students learning Thai as a second language, before implementing KWL Plus, the mean score was 14.79 accounting for 49.32% while the mean score after implementing KWL Plus was 25.92 accounting for 86.40% The post-implementation mean score was 11.13 higher than that of the pre-implementation and accounted for 37.08%.

3. The satisfaction of Chinese students learning Thai as a second language, Chiang Rai Rajabhat University, towards implementing KWL Plus in developing reading skills, in overall, was ranked at the high level (μ=4.85, σ=0.07) and corresponded to the research hypotheses.

Article Details

Section
Research Articles