ความรู้และการปฏิบัติของผู้ปกครองเกี่ยวกับการเกิดโรคฟันผุของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สกาวรัต วงค์จันทร์ทิพย์
พัชรา ก้อยชูสกุล
พิรภานุวัตณ์ ชื่นวงศ์

Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (Crossectional Survey Reseach) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ และเปรียบ เทียบความรู้และการปฏิบัติของผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ระหว่างผู้ปกครองของเด็กที่มี เพศ อายุ อาชีพ รายได้ ลักษณะรายรับรายจ่ายของครอบครัว และการศึกษาที่แตกต่างกัน ประชากรคือ ผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในความ รับผิดชอบของอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย จำนวนทั้งหมด 1,008 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ Taro Yamane ที่ ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้กลุ่มตัวอย่าง 300 คน จากนั้นก็ทำการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ไป ตามศูนย์พัฒนาเด็กเล็กแต่ละศูนย์ และสุ่มตัวอย่างโดยการจับฉลากจากรายชื่อตามจำนวนที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F – test) เปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe)

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้ด้านทันตสุขภาพในระดับปานกลาง มีระดับการปฏิบัติด้านทันต สุขภาพอยู่ในระดับดี เมื่อเปรียบเทียบความรู้กับการปฏิบัติเกี่ยวกับการเกิดโรคฟันผุพบว่าผู้ปกครองที่มีอายุ อาชีพ และระดับการ ศึกษา แตกต่างกัน มีความรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการเกิดโรค ฟันผุพบว่าผู้ปกครองที่มี อาชีพ รายได้ของครอบครัวต่อเดือน ลักษณะรายรับรายจ่ายของครอบครัว และระดับการศึกษาต่างกัน มีการปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01, .05

 

Knowledge and Practices of Parents with their Children in Child Development Centers on Dental caries in Chiangsaen District, Chiangrai Province

This crossectional survey reseach aims to study and compare knowledge and practices regarding dental caries of parents of child in child development centers in Chiangsaen District, Chiangrai Province. The comparisons were performed between parents who had different gender, age, occupation, level of education and income-expense of family. The population was 1,008 parents of children in child development centers under the responsibility of Chiangsaen District, Chiangrai Province. 300 sample size was calculated by using the formula of Taro Yamane with a confidence level of 95%. Then, by using stratified random sampling, number of children from each development center was drawn. Questionnaires of knowledge and practices were used as research instrument and the collected data were analysed by using Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, t-Test, F-Test and Scheffe.

The results showed that most of samples had medium level of knowledge on dental health and good level of dental practices. It also was found that the different ages, occupations, and educational levels of samples had different knowledge level significantly at .01 Where as, parents who had different occupations, incomes per month, household expenses and educational levels contributed to significant statistical differences at .01, .05

Article Details

Section
Research Articles