ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย

Main Article Content

พนิดา อัครพูลพัฒน์
พูนชัย ยาวิราช
สมเกียรติ ตุ่นแก้ว

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา เพื่อศึกษา ความเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัดเทศบาลนครเชียงราย และเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพในการบริหารงานของ ผู้บริหารสถานศึกษาให้สูงขึ้นโดยใช้โรงเรียนเทศบาลนครเชียงราย สังกัดสำนักงานการศึกษา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้อง ถิ่น ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตเทศบาลนครเชียงราย จำนวน 8 คน และครูผู้สอนใน โรงเรียนเทศบาล สังกัดสำนักงานการศึกษา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดเชียงราย จำนวน 317 คน โดยใช้วิธีการ เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง 114 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามภาวะผู้นำทาง วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ทั้ง 11 ด้าน ได้แก่ ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน ด้านการสื่อสารเป้าหมายของโรงเรียน ด้านการนิเทศและการประเมินผลด้านการสอน ด้านการประสานงานด้านการใช้หลักสูตร ด้านการตรวจสอบความก้าวหน้า ของ นักเรียน ด้านการควบคุมการใช้เวลาในการสอน ด้านการดูแลเอาใจใส่ครูและนักเรียนอย่างใกล้ชิด ด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับ ครู ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการและด้านการจัดให้มีสิ่งส่งเสริมสภาพ การเรียนรู้ ความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ 5 ด้าน คือ การมีสมาชิกที่มีความเป็นเลิศ การมีตัวแบบจากภายใน การมีวิสัยทัศน์ ร่วมกัน การเรียนรู้เป็นทีม การคิดอย่างเป็นระบบและแบบสัมภาษณ์ผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในเขตเทศบาลนคร เชียงราย สังกัดสำนักงานการศึกษา กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) แล้วทำการแปลผลโดยนำเสนอเป็นตารางประกอบคำบรรยาย และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละและอธิบายเชิงพรรณาเป็นความเรียง

ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในสังกัดเทศบาลนคร เชียงราย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีความคิดเห็นสูงสุด คือ ด้านการกำหนดเป้าหมายของ โรงเรียนรองลงมา คือ ด้านการจัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครูและด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านวิชาชีพ ตามลำดับ ส่วนด้านที่มี ความคิดเห็นต่ำสุด คือ ด้านการประสานงานด้านการใช้หลักสูตร

2. ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา ในแต่ละด้าน พบว่า ด้านที่มีระดับความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้สูงสุด คือ ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน รองลงมา คือ ด้านการ คิดอย่างเป็นระบบ และรายการที่มีระดับความเป็น องค์การแห่งการเรียนรู้ต่ำสุด คือ ด้านการมีตัวแบบจากภายใน

3. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนเทศบาลนครเชียงรายเกี่ยวกับความเป็นองค์การแห่ง การเรียนรู้ของโรงเรียนเทศบาลนครเชียงราย มีดังนี้

3.1 ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการมีสมาชิกที่มีความเป็นเลิศ จะมีวิธีการอย่างไรในการสนับสนุนให้สมาชิกในองค์กรมีความกระตือรือร้น สนใจใฝ่หาสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง และสร้างสรรค์ให้ เกิดผลลัพธ์ตามที่มุ่งหวังไว้

3.2 ผู้บริหารสถานศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการจำแนกแยกแยะความถูกต้อง ของสมาชิก ถ้าสมาชิก จำแนกแยกแยะความถูกต้องไม่ได้ผู้บริหารจะมีวิธีแก้ไขอย่างไรและจะสนับสนุน อย่างไรให้สมาชิกในองค์กรไม่ยึดติดกับความเชื่อ เก่าๆ ที่ล้าสมัยไปแล้ว

3.3 ผู้บริหารสถานศึกษาจะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันให้กับสมาชิก ในองค์กร ผู้บริหารมีวิธีการ สร้างแรงบันดาลใจให้กับสมาชิกในองค์กรอย่างไรบ้าง

3.4 ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการเรียนรู้เป็นทีมหรือไม่ ในสถานศึกษาของท่านได้จัดประชุม อภิปรายปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นหรือไม่ ทำอย่างไร และสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้เป็นทีมอย่างไร

3.5 ในองค์กรของท่านบุคคลได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลความคิดและประสบการณ์ซึ่งกันและกันหรือ ไม่ จะสนับสนุนบุคคลในองค์กรอย่างไร ผู้บริหารมีวิธีการอย่างไรให้สมาชิกคิดอย่างเป็นระบบ

 

Academic Leadership of Administrator in Chiangrai Municipality School

The purpose of this study was to study the academic leadership of the administrators in municipality schools in Chiangrai. To find the way to develop quality of administration by the municipality in Chiangrai province. The schools belong to education residence, the Department of Local Administration. The populations were the 8 school administrators and 317 teachers in Chiangrai municipality schools. For my sample I used the formula by Yamane on 114 teachers. The instruments used to collect data were the five-scale multiple choice questionnaires in 11 fields. To interview administrators in Chiangrai municipality schools. The data was statistically analyzed by the average, percentage and the standard deviation. The findings of this study are as follows :

1. The overall and individual levels of academic leadership of the administrators in Chiangrai municipality schools are found on the higher scale level. The specific goal of the school was highest result and coordination to use the curriculum was the lowest.

2. The overall outcome of research about Learning Organizations was on the higher scale level. The higher result was the shared vision and the internal model was the lowest.

Article Details

Section
Research Articles