การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิธีสอนและการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย ด้วยโครงงานฐานวิจัยสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

Main Article Content

วทัญญู ขลิบเงิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิธีสอนและการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้วยโครงงานฐานวิจัยสำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทยมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 2) เพื่อศึกษาความสามารถของนักศึกษาในการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยโดยใช้โครงงานฐานวิจัย และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาวิธีสอนและการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยโดยใช้โครงงานฐานวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานวิธี และ
ใช้แบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายในด้วยการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เสริมด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพแบบแผนแบบกึ่งทดลอง โดยประยุกต์การวิจัยแบบดุลยภาพด้านเวลา และกลุ่มตัวอย่างของการทดลองต่อเนื่อง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิธีสอนและการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยด้วยโครงงานฐานวิจัย สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
มีองค์ประกอบคือ หลักการ วัตถุประสงค์ และขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 เตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ขั้นที่ 3 การจัดกลุ่มความร่วมมือ ขั้นที่ 4 ปฏิบัติการแสวงหาความรู้ ขั้นที่ 5 นำเสนอผลงานหลังการทดลองใช้รูปแบบ นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจต่อองค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบอยู่ในระดับมาก การทดลองจัดการเรียนรู้ นักศึกษาสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้สอดคล้องกับเนื้อหาและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และมีการใช้สื่อช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิด
ความสนใจ ในกิจกรรมการเรียนการสอน และมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรพันธ์ แสงทอง. (2557). การศึกษาทัศนคติของนักเรียนโครงการเพาะพันธุ์ปัญญาต่อการจัดการเรียนรู้ กรณีศึกษาโรงเรียนโคกสว่างคุ้มวิทยานุสรณ์. ใน การประชุมวิชาการ มอบ.วิจัย ครั้งที่ 8. หน้า 3 อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ทิศนา แขมมณี และ คนอื่น ๆ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ : เดอะมาสเตอร์กรุ๊ป แมเนจเม้นท์.

ทิศนา แขมมณี และ คนอื่น ๆ. (2545). กระบวนการเรียนรู้ ความหมาย แนวทางการพัฒนา และปัญหาข้องใจ. กรุงเทพฯ : พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.).

ทิศนา แขมมณี. (2557). ปลุกโลกแห่งการสอนให้มีชีวิตสู่ห้องเรียนแห่งศตวรรษใหม่. ใน เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ “อภิวัฒน์การเรียนรู้...สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย”. หน้า 24. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.).

พจนา ทรัพย์สมาน. (2549). การสอนให้ผู้เรียนแสวงหาและค้นพบความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.