แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงราย เขต 3

Main Article Content

ปรานอม จันทิมา
ไพรภ รัตนชูวงศ์
ประเวศ เวชชะ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงาน โรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 และเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงานโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งสิ้น 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ โดยหาค่า ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย สรุปได้ ดังนี้

จากการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ พบว่า สภาพการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงาน โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เพื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านบริหารทั่วไป อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านวิชาการอยู่ในระดับมากและ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ ที่สุด คือ ด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก

แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงาน โรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 พบว่า

แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงาน โรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 งาน ด้านวิชาการมีการกระจาย อำนาจให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษามีการจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องของแผน หรือบทบาทของคณะกรรมการ เปิดโอกาส ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเสรีผู้บริหารควรรับฟังความคิดเห็นของคณะกรรมการสถานศึกษา มีการชี้แจงให้เข้าใจและเห็นความ สำคัญของงานแต่ละงาน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และมีขั้นตอนในการดำเนินงาน อย่างเป็นระบบ มีการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการบริหารงาน โรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 งาน ด้านงบประมาณเปิดโอกาส ให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ามา มีส่วนร่วมให้คำปรึกษา เสนอแนะแนวทางการบริหารงานด้านงบประมาณมีแผนการตรวจสอบติดตามผลการดำเนินการให้เป็น ไปตามแผนปฏิบัติการประจำปีและมีการนำผลการประเมินการดำเนินงานด้านงบประมาณมาใช้ในการวางแผนจัดทำงบประมาณในครั้งต่อไปให้มากขึ้น

แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงาน โรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 งาน ด้านบุคลากรเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมส่ง เสริมวางแผนในการพัฒนาบุคลากรโรงเรียนมี การสนับสนุนการปฏิบัติงาน ส่งเสริม ยกย่องบุคลากรที่มีผลงานดีเด่น มีส่วนร่วมในการกำกับ ติดตาม และประเมินผล

การปฏิบัติงานของบุคลากร เข้าร่วมประชุมภายในโรงเรียน เพื่อทั้งบุคลากรและคณะกรรมการสถานศึกษาจะได้รู้จักกัน สร้าง สัมพันธ์ที่ดีได้มากขึ้นให้คำแนะนำ ส่งเสริม สนับสนุน การปฏิบัติราชการของบุคลากรเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น

แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการบริหารงาน โรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 งาน ด้านบริหารทั่วไปมีการชี้แจงหลักการและขอบเขตในการบริหารงานด้าน บริหารทั่วไปให้คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ทราบ เปิดโอกาสให้มีบทบาทในการประสาน ส่งเสริมสนับสนุนและ อำนวยความสะดวกต่างๆ ในการบริการการศึกษาทุกรูปแบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และแหล่งทุน เพื่อสนับสนุน โอกาสทางการศึกษาของนักเรียน

 

Guidelines for the Participatory Management of the Basic Educational Institution Committee in the Administration of Schools Under Chiangrai Primary Educational Service Office Area 3

The aims of this research were to study the condition of the involvement of the basic education institution committee in the administration of schools under Chiangrai Primary Educational Service Office Area 3 and to find out the guidelines for the development of the involvement of the basic education institution committee in the administration of schools under Chiangrai Primary Educational Service Office Area 3. The sample group of this study consisted of 176 administrators, and heads of basic institution committee. The research instruments were a questionnaire and an interview form. The data was analyzed by using percentage, mean and standard deviation. The results of the study were concluded that;

The overall condition of the involvement of the basic education institution committee in administration of schools under Chiangrai Primary Educational Service Office Area 3 appeared at the high level. When considered in each aspect, the highest mean was the general administration which was appeared at the high level. The academic was respectively ranked at the high level, while the lowest mean was the budget which was also at the high level.

The guidelines for development of the involvement of the basic education institution committee in the administration of schools under Chiangrai Primary Educational Service Office Area 3 revealed that in the academic section, the decentralization to the basic education institution committee should be implemented to have the involvement in making the school curriculum. The training on planning and role of the committee should be done. Besides, the administrator should give the chance to the committee to express their opinion freely and the administrators also listen to those opinion. The importance of each job should be informed and considered. The basic education institution committee should participate in the operation and have the process of the operation systematically. The community learning resources should be developed as well.

In the budget section, the involvement of the basic education institution committee on giving advice and recommendation on the budget administration should be provided. The monitoring plan should be done based on the yearly plan and the result from the evaluation should be used for the next budget planning.

In the personnel section, the basic education institution committee should have a chance to support the operation, to promote and praise the outstanding personnel. The committee should also participate in the monitoring and evaluation of the personnel. The committee should attend the school meeting so the personnel and the committee would know each other and have a good relationship. The committee should give the advice, encouragement and support to the personnel to have the better and effective operation.

In the general administration section, the principle and scope of the general administration should be informed to the basic education institution committee. Moreover, the opportunity in having the role to coordinate, support and facilitate every educational service should be provided and the involvement for supporting learning resources and the scholarship for support the educational opportunity of students should be encouraged

Article Details

Section
Research Articles