การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนของการเรียนรู้ และเจตคติต่อคณิตศาสตร์ของ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผังขั้นบันไดร่วมกับ การแก้โจทย์ปัญหาของโพลยากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ

Main Article Content

อภัชนันท์ พากเพียร
นพพร ธนะชัยขันธ์
สุดาพร ปัญญาพฤกษ์

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความคงทนของการเรียนรู้ และเจตคติต่อ คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผังขั้นบันไดร่วมกับการแก้โจทย์ปัญหาของ โพลยากับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ประชากรได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแม่จันวิทยาคม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 36 จำนวน 3 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียน รู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผังขั้นบันไดร่วมกับการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบวัดเจตคติต่อคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบผังขั้นบันไดร่วมกับการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยความคงทนของการเรียนรู้ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบผังขั้นบันไดร่วมกับการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยาและนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ ไม่แตกต่างกัน และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบผังขั้นบันไดร่วมกับการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ มีเจตคติต่อคณิตศาสตร์ไม่แตกต่างกัน

 

A Comparison of Learning Achievement, Retention of Learning, and Attitude towards Mathematics of Mathayomsuksa 3 Students between Learning Management by Using Time Ladder Map with Polya s’ Problem Solving Steps and Conventional Method

The purpose of this research was to compare learning achievement, retention of learning, and attitude towards Mathematics of Mathayomsuksa 3 students during the learning management by using time ladder map with Polya s’ problem solving steps and conventionalmethod. The population of this study consisted of 3 classrooms of Mathayomsuksa 3 students at Maechanwitthayakhom school under The Secondary Educational Service Area Office 36. The research instruments drawn for this study were learning plan by using time ladder map and Polya s’ problem solving stepslearning management, the achievement test, and the attitude test towards Mathematics. The data were analyzed by using mean, standard deviation and t- test. The results of the study were found that the average score of the learning achievement of studentswho learnt by using time ladder map and Polya s’ problem solving steps was higher than studentswho learnt by conventional method at the statistically significant level of .05. There were no differences on the retention of learning and the attitude towards Mathematic between the students who learnt by using time ladder map and Polya s’ problem solving steps and the studentswho learnt by conventional method.

Article Details

Section
Research Articles