ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนชาติพันธุ์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาเชียงรายเขต 4

Main Article Content

ฐิตินันท์ สนิทดี
กิตติศักดิ์ นิวรัตน์
ปริมินทร์ อริเดช

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบโมเดลเชิงสาเหตุความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษาของนักเรียน ชาติพันธุ์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ผลการสร้างและตรวจสอบความสอดคล้องโมเดลเชิงสาเหตุของความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา พบว่า โมเดล สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่า ไค-สแควร์ (χ2) แตกต่างจากศูนย์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่า ยอมรับสมมติฐานหลักที่ว่าโมเดลตามสมมุติฐานมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เมื่อพิจารณาในภาพรวม โมเดลยอมรับ สมมติฐานหลักที่ว่า โมเดลตามทฤษฎีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์ (R2) ของตัวแปรตาม คือ ความ เสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา มีค่าเท่ากับ .96 แสดงว่า ตัวแปรในโมเดลร่วมกันอธิบายความแปรปรวนในตัวแปรความเสมอ ภาคในโอกาสทางการศึกษาได้ ร้อยละ 96

2. เมื่อพิจารณาในโมเดล ตัวแปรที่มีอิทธิพลรวมสูงสุดในโมเดลที่มีต่อต่อความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา คือ ปัจจัยด้านครอบครัว รองลงมา คือ ปัจจัยด้านความเชื่อและวัฒนธรรมชนเผ่า ปัจจัยด้านสถานศึกษา ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัย ที่มีอิทธิพลรวมน้อยที่สุด คือ ด้านนักเรียน

ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุดในโมเดลที่มีต่อความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา คือ ปัจจัยด้านครอบครัว รองลง มา คือ ด้านนักเรียน และปัจจัยความเชื่อและวัฒนธรรมชนเผ่า มีค่าอิทธิพลทางตรงน้อยที่สุด ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุดในโมเดลที่มีต่อความเสมอภาคในโอกาสทางการศึกษา คือ ความเชื่อและวัฒนธรรมชนเผ่า รอง ลงมา คือ ปัจจัยด้านสถานศึกษา และปัจจัยที่มีค่าอิทธิพลน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านสังคม

 

Casual Factors Affecting the Education Opportunities of Lower Secondary Ethnic Students Studying in the Office of Chiang Rai Primary Education Services Area 4

The purposes of this study aimed to construct and examine the casual model related to the education opportunities of lower secondary ethnic students studying in the Office of Chiang Rai Primary Education Services Area 4. The findings of the study were as follows:

1. In terms of the construction and examination of the casual model in relations to the lower secondary ethnic students’ education opportunities compared with Chi-square (χ2) and no significant difference, it showed that the constructed model worked with the dependent variable on their education opportunities with 96 percent, according to the major research hypotheses, was relatively consistent with its empirical data, regression coefficient;

2. As compared among this model, factors affecting the education opportunities of lower secondary ethnic students studying in the Office of Chiang Rai Primary Education Services Area 4 were mostly observed in terms of their family, followed by their beliefs and ethnic culture, their education site, their social tasks, and their student’s characteristics;

Most importantly, direct factors affecting the education opportunities of lower secondary ethnic students studying in the Office of Chiang Rai Primary Education Services Area 4 were mostly observed in terms of their family, followed by student’s characteristics, and their beliefs and ethnic culture, meanwhile indirect factors affecting the education opportunities of lower secondary ethnic students studying in the Office of Chiang Rai Primary Education Services Area 4 were mostly observed in terms of their beliefs and ethnic culture, followed by their education sites, whereas the social factors was less influenced.

Article Details

Section
Research Articles