An Analysis of LAS Test Used by Secondary Schools In Chiangrai Primary Educational Service Area Office 4

Main Article Content

อ้อยทิพย์ บรรดิ
ณัฏฐพล สันธิ
ศรชัย มุ่งไธสง

Abstract

The study is aimed to analyze linguistic features used in (Local Assessment System: LAS Test). The linguistic features discussed in this study were Test Types, Test Qualities, and Cognitive Complexities. Data source of the study were LAS tests (English) selected from academic year 2010 to 2012 administered by Chiangrai Primary Educational Service Area Office 4.

The findings were as follows: Based on Brown (1995) on types of test tasks, in Speaking part, the task type found in the highest frequency Intensive Speaking and, in Reading part, the task type found it was found in the highest frequency was Interactive Reading, Perceptive Reading, and Selective Reading. In writing part, however, Imitative Writing, Intensive (Controlled) Writing, and Extensive Writing were not found in this study. For Test Qualities analysis, the most frequent test attributes used in this test were Validity, Reliability, Authenticity, Practicality, and Impact. For Cognitive Complexities analysis, the most frequent attributes found in this part were Comprehension, Knowledge, Analysis, and Application.

The results of this study were useful for English teachers as the guidelines for analyzing other areas. Likewise, the results could serve as the basis for teachers in developing good test tasks for their classroom assessment.

 

การวิเคราะห์ภาษาที่ใช้ในแบบทดสอบการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์คุณสมบัติทางภาษาศาสตร์ (Linguistic Feature) ของแบบทดสอบเพื่อ ประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา (Local Assessment System : LAS Test) ซึ่ง Linguistic Features ใน การวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ประเภทของข้อสอบ (Test Types) คุณภาพของแบบทดสอบ (Test Qualities) และการวัดทักษะพุทธิ ปัญญา (Cognitive Complexities) แหล่งข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบ LAS ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2555 ของ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 4

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้มาจากกระบวนการการวิเคราะห์Linguistic Features ซึ่งวิเคราะห์ Test Types, Test Qualities และ Cognitive Complexities

ผลการวิจัยพบว่า ประเภทของแบบทดสอบในส่วนของการพูด (Speaking) เรียงจากมากที่สุด ได้แก่ The Intensive Speaking และ Responsive Speaking ในส่วนของการอ่าน เรียงจากมากที่สุด ได้แก่ Interactive Reading Perceptive Reading และ Selective Reading ในส่วนของการเขียน ตามทฤษฎีของ Brown กล่าวไว้ว่า ประเภทของการเขียน ได้แก่ Imitative Writing, Intensive (Controlled) Writing และ Extensive Writing แต่อย่างไรตาม ในการวิจัยในครั้งนี้ไม่พบประเภทของ การเขียนตามทฤษฎีของ Brown ในส่วนของคุณภาพของแบบทดสอบ (Test Qualities) จากการวิเคราะห์ เรียงจากมากที่สุด ได้แก่ ความเที่ยงตรง (Validity) ความเชื่อมั่น (Reliability) ความสมจริงของข้อสอบ (Authenticity) ความเหมาะสมแก่การนำ ไปใช้ (Practicality) และผลกระทบของแบบทดสอบ (Impact) ในส่วนของความสามารถในการคิดเชิงซับซ้อน (Cognitive Complexities) เรียงจากมากที่สุด ได้แก่ ความเข้าใจ (Comprehension) ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) การวิเคราะห์ (Analysis) และการประยุกต์ (Application)

จากผลการวิจัย สามารถสรุปได้ว่า ครูผู้สอนในรายวิชาภาษาอังกฤษ สามารถนำไปประยุกต์ใช้การการวิเคราะห์ข้อสอบ LAS ในเขตพื้นที่อื่นได้ โดยการวิเคราะห์ Test Types, Test Qualities และ Cognitive Complexity ดังนั้นครูผู้สอนต้องคำนึง ถึงคุณภาพของแบบทดสอบและต้องเอาใจใส่ในการทำแบบทดสอบของผู้เรียน รวมไปถึงพิจารณาคุณภาพของแบบทดสอบที่ใช้ ในการวัด ซึ่งเริ่มต้นด้วยการวางแผน และมีการพัฒนาผู้เรียนอย่างต่อเนื่องในการทำแบบทดสอบ

Article Details

Section
Research Articles