การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RAJASEE เพื่อส่งเสริมความสามารถ ในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ฉวีวรรณ เคยพุดซา โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการจัดการเรียนรู้, ความสามารถในการคิดแก้ปัญหา, ชีววิทยาพื้นฐาน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) สร้างและพัฒนารูปแบบให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ศึกษาผลการทดลอง และ 4) ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RAJASEE วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อสร้างรูปแบบ และ 2) ทดลองใช้พร้อมทั้งประเมินความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายจากนักเรียนจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RAJASEE 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียน วิเคราะห์แบบทดสอบและแบบวัดความพึงพอใจโดยใช้การหาค่าความสอดคล้อง (IOC) ค่าความยาก อำนาจจำแนก ความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที

          ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนต้องการการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้มีทักษะความสามารถในการคิดแก้ปัญหา นำชีววิทยาพื้นฐานไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ 2) ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RAJASEE ประกอบด้วย ทบทวนปัญหา (Review: R) วิเคราะห์ปัญหา (Analysis: A) เชื่อมโยงความรู้ (Join: J) ประยุกต์วิธีการแก้ปัญหา (Apply: A) ลงมือแก้ปัญหา (Set in: S) ตรวจสอบผลการแก้ปัญหา (Evaluate: E) และแสดงผลการแก้ปัญหา (Exposition: E) เมื่อนำไปทดลองใช้พบว่ามีประสิทธิภาพเท่ากับ 85.11/84.33 3) นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดแก้ปัญหา หลังจากการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RAJASEE สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบ RAJASEE ระดับมากที่สุด

References

คชากฤษ เหลี่ยมไธสง. (2554). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานโดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ การคิดแก้ปัญหาของนิสิตระดับอุดมศึกษา (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จิราภรณ์ พิมใจใส. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิดทฤษฏีและการนำไปใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2553). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ประพันธ์ศิริ.

ฝ่ายบริหารงานวิชาการ โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย. (2557). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554–2558). นครราชสีมา: โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย.

พัทธวรรณ เกิดสมนึก. (2554). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยแบบ PSQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

มนต์ชัย พงศกรนฤวงษ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างความรู้ของนักเรียนช่างอุตสาหกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

แสงเดือน เจริญฉิม. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่สร้างเสริมมโนทัศน์และแก้ปัญหาในวิชาฟิสิกส์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

อารยา ช่ออังชัญ. (2553). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

Kruse, Kevin. (2008). Instructional Design. สืบค้นจาก https://www.cognitivedesignsolutions.com/Instruction/LearningTheory.htm

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2018