การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสานในการจัดการเรียนการสอนทางด้านทฤษฎีดนตรีสากล

ผู้แต่ง

  • ปองภพ สุกิตติวงศ์ สาขาวิชาดนตรีสากล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบผสมผสาน, ทฤษฎีดนตรี, การจัดการเรียนการสอน

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางการจัดการเรียนการสอนทฤษฎีดนตรีสากลโดยประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบผสมผสาน 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการจัดการเรียนการสอนในด้านทักษะความรู้ทฤษฎีดนตรีสากล และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาดนตรีสากล มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 20 คน วิธีการวิจัยใช้แบบแผนทดลองกลุ่มเดียวโดยทดสอบความสามารถทางทฤษฎีดนตรีสากลก่อนหลัง ประกอบกับการสอบถาม สัมภาษณ์ และสังเกตพฤติกรรม เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย1) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียนด้านทฤษฎีดนตรีสากล และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอน และ 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนการสอน

            ผลการวิจัยพบได้ว่า 1) แนวทางการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย แผนและกิจกรรมการเรียนรู้เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนแบบร่วมมือ และการประเมินและให้ข้อเสนอแนะสื่อการสอนหลัก ได้แก่ เว็บไซต์ บทเรียนวีดิทัศน์ แบบทดสอบย่อย แบบฝึกหัดและเฉลยแบบฝึกหัด 2) ผลสัมฤทธิ์ด้านทฤษฎีดนตรีสากลของนักศึกษาในการทดสอบหลังเรียน (M = 13.53, SD = 2.25) สูงขึ้นจากการทดสอบก่อนเรียน (M = 2.5, SD = 6.58) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 3) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนการสอนอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.51, SD = 0.7)

References

เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม. (2559). การออกแบบสื่อการศึกษาสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัชชา พันธุ์เจริญ. (2553). ทฤษฎีดนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: เกศกะรัต.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บรรพต พิจิตรกำเนิด, ฐิติยา เนตรวงษ์, และพิริยะ กิมาลี (2556). การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานโดยใช้แหล่งข้อมูลวัฒนธรรมเป็นฐาน ในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการรู้สารสนเทศและความตระหนักในวัฒนธรรมไทยของนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

ปณิตา วรรณพิรุณ. (2554). การเรียนแบบผสมผสาน จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 1(2): 43-49.

ประหยัด ทีทา. (2555). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่งแบบผสมผสานวิชาพฤติกรรมการสอนคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษา ระดับปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, กรุงเทพฯ.

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. (2554). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

_______. (2559). หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

สุพีรา ดาวเรือง. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบผสมผสานโดยใช้การเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐานและเทคนิคเพื่อนคู่คิดบนวิกิเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สาขาวิชาเทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Horn, B. M. & Staker, H. (2015). Blended: using disruptive innovation to improve schools. CA: Jossey-Bass.

Littlejohn, A. & Pegler, C. (2007). Preparing for blended e-learning. New York: Routledge.

Palisca, C. V. (2001). Theory, The new grove dictionary of music and musicians. New York: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

16-12-2018